รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จำนวน 3พิมพ์
“รูปเหมือนปั๊มของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค” จำนวน 3พิมพ์ที่เป็นของแท้(ขอย้ำ) เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาและพิจารณาในการเก็บสะสม
1.รูปเหมือนปั๊ม”รุ่นหูกาง” ปีพ.ศ.2508 เนื้อทองเหลือง พิมพ์นี้เป็นรูปเหมือนตัดปั๊มที่สร้างเป็นรุ่นที่ 2 (รุ่นแรกคือ”รุ่นนิ้วกระดก”สร้างปี พ.ศ. 2507)
หลักการพิจารณาของแท้ที่ต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3ประการคือ
1.อายุต้องเก่าจริง อายุของโลหะทองเหลืองคือ 2566-2508 = 58ปี จะต้องมีความเก่าที่สมอายุเสมอ พระปลอมโลหะจะดูใหม่และวาวเวลาถ่ายภาพ
2.วัสดุที่ใช้สร้างต้องถูกต้องสำหรับโลหะที่ใช้สร้างในรุ่นนี้จะมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือเนื้อทองเหลืองเท่านั้น ขอให้พิจารณาลักษณะทางกายภาพภายนอกให้ครบถ้วนได้แก่สี,น้ำหนักและเนื้อโลหะผสมคือทองเหลือง ตามภาพที่ส่งมาให้ชม
3.พิมพ์และวิธีการสร้างต้องถูกต้อง
3.1รายละเอียดพิมพ์นั้นจะต้องคมชัดลึก,ละเอียดดู”นิ่มตา” ของปลอมรายละเอียดจะเบลอ,ไม่คมชัด
3.2. วิธีการสร้างนั้นเป็นแบบ”ตัดปั๊ม” ดังนั้นเอกลักษณ์และร่องรอยที่บ่งชี้ว่าตัดปั๊มจริงจะต้องมีให้เห็นเช่น
1.เส้นตัดปั๊มรอบๆองค์หลวงพ่อตรงแนวกึ่งกลางจะต้องปรากฏให้เห็นเสมอ ในของปลอมจะเรียบหรือทำเส้นตัดปั๊มปลอมขึ้นมา
2.ใต้ฐานจะไม่มีเส้นตัดปั๊มเหมือนด้านข้างแต่จะมีเส้นโค้งเป็นเส้นรัศมีที่เกิดจากช่างได้ตกแต่งบล็อคโดยการเจียให้เรียบก่อนจะนำมาเป็นบล็อคแม่พิมพ์เพื่อนำมาปั๊มนั่นเอง “จุดสังเกตนี้ของปลอมจะไม่มีให้เห็นหรือถ้ามี เส้นก็จะไม่เรียบร้อยผิดธรรมชาติ
2.รูปเหมือนปั๊มสร้างในปีพ.ศ.2516 จำนวน 2พิมพ์
2.1 พิมพ์หลังเตารีดเนื้อตะกั่ว
-จะมีเส้นตัดปั๊มที่ขอบด้านข้างซ้ายขวา โดยที่ใต้ฐานจะเรียบไม่มีรอยตัด
-รายละเอียดพิมพ์จะคมชัดลึกเนื่องจากเป็นการปั๊ม จะต้องมีความคมชัด ส่วนในของปลอมนั้นพิมพ์จะเบลอเนื่องจากเป็นการฉีดโลหะเหลวลงในแม่พิมพ์
-ความเก่าของโลหะที่ต้องเก่าสมอายุ 50ปี ของปลอมจะใหม่,วาวกว่าเวลาถ่ายภาพ
2.2 พิมพ์ตัดชิดองค์หลวงพ่อและทำเป็นเข็มกลัดติดเสื้อสร้างด้วยทองเหลือง
-การสร้างช่างจะตัดชิดขอบร่างกายขององค์หลวงพ่อพอดี โดยจะเห็นเส้นตัดที่ค่อนข้างใหญ่โดยรอบ โดยเส้นตัดแต่งที่ใต้ฐานจะเล็กและละเอียดกว่าด้านข้าง
-พิจารณาตัวเข็มกลัดที่ติดด้านหลัง งานจะสมบูรณ์และละเอียดเรียบร้อย
-ต้องพิจารณความเก่าของโลหะที่สมอายุเสมอ
-รายละเอียดพิมพ์จะต้องคมชัดลึก ตัวอักษรต่างๆลึกชัดมาก
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.puttharugsa.comและช่องยูทูป”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”ครับ