พระกรุนาดูนพิมพ์”นั่งเมือง”,”พิมพ์ทรงเมือง” เนื้อดินและพิมพ์แบบต่างๆ
“พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”ขอนำพระพิมพ์เนื้อดินเผากรุนาดูน ที่มีลักษณะรูปแบบพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่เป็นพิมพ์พระพุทธรูปประทับนั่งบนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้ง 2ข้าง หรือที่เรียกกันว่า”นั่งบัลลังก์” หรือ”นั่งเมือง” ซึ่งโดยปกติแล้วจะพบอยู่ 3รูปแบบด้วยกัน โดยมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ที่การแสดงท่าทางของหระหัตถ์(มือ),รายละเอียดตกแต่งและรวมถึงขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปคือ
1.แบบที่1 มีชื่อว่า “พิมพ์นั่งเมือง” ลักษณะประทับนั่งโดยพระกร(แขน)ทั้ง 2ข้างวางบนพระอุรุ(ต้นขา)ทั้ง 2ข้าง บางพิมพ์พระกรซ้ายดูคล้ายจะวางบนที่วางพระกรด้านข้างที่ประทับ โดยมีรายละเอียดตกแต่งโดยรอบมากที่สุดทั้งบัลลังก์และช่อชัยพฤกษ์ที่ละเอียดงดงามที่สุดใน 3แบบ
2.แบบที่ 2 มีชื่อว่า”พิมพ์ทรงเมือง” จะมีลักษณะพระประธานประทับนั่งบนบัลลังก์โดยยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นระดับพระอุระ(อก) พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระอุรุ(ต้นขา) รายละเอียดตกแต่งน้อยกว่าและความละเอียดงดงามน้อยทุกพิมพ์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าทุกพิมพ์
3.แบบที่ 3 จะมีลักษณะและขนาดคล้ายพิมพ์นั่งเมือง แต่แตกต่างกันที่รายละเอียดพิมพ์ โดยประทับนั่งบนบัลลังก์เหมือนกันแต่จะยกพระกร(แขน)ทั้ง2ข้างขึ้นระดับพระอุระ(อก) โดยรายละเอียดตกแต่งโดยรอบมีช่อชัยพฤกษ์คล้ายพิมพ์นั่งเมือง แต่ไม่ละเอียดงดงามเท่าและมีขนาดเล็กกว่าทั้ง 2แบบที่กล่าวมาข้างต้น
ผมได้นำภาพเปรียบเทียบมาให้เพื่อนสมาชิกได้ชมโดยละเอียดทั้ง 3แบบพิมพ์
การพิจารณาพระแท้นั้ยให้สังเกตองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ
1.ลักษณะเนื้อดินเผา,คราบกรุและไข ของกรุนาดูนที่เป็นเอกลักษณ์ ที่มีความหนึกแกร่ง เนื้อดินเผาพบได้ทั้งดินละเอียดและดินผสมแร่และเนื้อแร่ ที่ของปลอมจะเลียนแบบได้ไม่เหมือน ขอให้ท่านจดจำพระตัวอย่างที่ลงภาพให้ชม
2.ความเก่าขององค์พระที่มีความเก่าจัดของเนื้อดิน มีการสึกตามอายุ,มีการหดตัวของเนื้อ ต้องมีความเก่าเป็นธรรมชาติ
3.พิมพ์และวิธีการสร้างที่ถูกต้อง การสร้างเป็นการกดลงแม่พิมพ์ด้านหน้าและมีการเผาด้วยความร้อนสูงมาก ดังนั้นรายละเอียดพิมพ์จะดูแล้วนิ่มตา มีพุทธศิลป์ที่ถูกต้อง ซึ่งจดนี้ของแท้กับของปลอมจะต่างกันชัดเจน ส่วนการเผานั้นจะใช้ความร้อนสูงมาก ถ้าเป็นองค์พระที่มีแร่ผสมอยู่ จะเห็นว่ามีการหลอมละลายของแร่ที่ผสมอยู่ภายในดันออกมาที่ผิว
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระกรุต่างๆ,พระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ท่านสมาชิกกรุณาช่วย”กดติดตาม”และ”กดแชร์” ข้อมูลได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”