ข้อมูลเพิ่มเติม
ขออนุญาตนำพระกรุนาดูนพิมพ์พระโพธิสัตว์ในรูปแบบพิมพ์ทรงกลมหรืิอที่เรียกกันติดปากในภายหลังว่าพิมพ์จตุคาม ซึ่งบางพิมพ์นั้นจะเป็นอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตที่อินเดียโบราณพร้อมกับศาสนาพุทธฝ่ายมหายานที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำรูปแบบาส่วนหนึ่งของศาสนาพราหมณ์มาประยุกต์เพื่อดึงให้คนหันมาสนใจศาสนาก่อนแล้วค่อยสอนให้ปฏิบัติในภายหลังและได้แพร่ขยายมายังสุวรรณภูมิและที่อ.นาดูนหรือนครจำปาศรีในอดีต เท่าที่ผมได้เก็บรวบรวมไว้มีทั้งหมด3ขนาด คือ เล็ก กลางและใหญ่ ส่วนมากแล้วจะพบมากในพิมพ์ขนาดใหญ่
รายละเอียดพิมพ์
-ด้านหน้าพบได้3แบบ
1.พระโพธิสัตว์2กรประทับนั่ง
2.พระโพธิสัตว์4กรประทับนั่ง
3.พระโพธิสัตว์ครึ่งองค์
-ด้านหลังพบได้4แบบ
1.พระโพธิสัตว์2กรประทับนั่ง
2.มหาเจดีย์
3.ราหูและ12นักษัตร
4.ราหูและมหาปราสาท
5.หนุมาน
ส่วนรายละเอียดของเนื้อดินที่พบมีทั้งเนื้อดินละเอียด ดินผสมแร่ เนื้อดินดำหรือไพรดำและแร่สีแดงตามรูปแบบที่พบในกรุนาดูนเหมือนกับพิมพ์อื่นเช่นกัน ส่วนความเก่านั้นสภาพภานนอกแกร่งจัดมากคล้ายหินเช่นเดียวกับพิมพ์อื่นๆเช่นกัน