พระพุทธรูปสมัยทวารวดี ประทับนั่งและประทับยืน ปางแสดงธรรม
พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา ” ขอนำพระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณอายุหลายร้อยถึงกว่า 1,000ปี ศิลปะสมัยทวารวดี ประทับนั่งและประทับยืนปางแสดงธรรม โดยพระพุทธรูปทั้งหมดนี้แสดงถึงสุนทรียภาพและความเป็นเอก ลักษณ์ของศิลปะทวารวดีตั้งแต่ยุคต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียโบราณสมัยอมราวดี,สมัยคุปตะและหลังคุปตะ ต่อเนื่องในยุคถัดมาที่ได้รับอิทธิพลจากช่างท้องถิ่นของทวารวดี ที่มีการเพิ่มเติมในรายละเอียดของพุทธศิลป์เช่นพระนาสิกที่มีสันคมแทนจมูกแบบแบนใหญ่ ปากไม่หนาเหมือนยุคแรกๆ และฐานที่ประทับจะมีการดัดแปลงเป็นฐานแบบ 3ขาแทนแบบที่เป็นฐานเรียบเตี้ยๆได้แก่
– พระพักตร์ (ใบหน้า) ค่อนข้างแบนกว้าง พระขนง(คิ้ว)ต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกใหญ่ พระเนตรเปิด
– พระโอษฐ์(ปาก)หนา
– พระกรรณ(หู)เป็นแบบบายศรี(โค้ง)ยาวจรดบ่า
– เม็ดพระศกเป็นแบบก้นหอยขนาดใหญ่
– พระ”อุษณีษะ” จะเป็นต่อมกลมนูน3ชั้นแทนแบบชั้นเดียว ในภาษาสันสกฤต “อุษณีษะ” หมายถึงกะโหลกด้านบนสุดกลางศีรษะของพระพุทธรูปอันเป็น ๑ ใน ๓๒ ประการของมหาบุรุษลักษณะ
– ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ขอบสบงเป็นแนวที่บั้นพระองค์
– มีชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระอังสาซ้าย โดยลักษณะปลายสังฆาฎิแยกเป็นแบบริ้วหยัก,แถบตรงและแบบปลายแฉกมีลวดลายตกแต่งเล็กน้อย ซึ่งจะแตกต่างจากยุคสมัยอื่นๆที่เคยพบเห็น
– พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่เหนือพระเพลา
– ประทับนั่งขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ พระบาทขวาอยู่เหนือพระบาทซ้าย อยู่บนฐานเตี้ย 3ขา
– องค์พระพุทธรูปจะแสดงวิตรรกะมุทรา (แสดงธรรม) โดยมีการจีบนิ้วพระหัตถ์ด้านขวาเป็นวงกลม
– มีดินใต้ฐานที่เป็นดินไทยที่เก่าและแกร่งจัด
– หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์โบราณ ผิวองค์พระพุทธรูปจะเป็นสนิมสีเขียว
ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
1.มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
2.พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง) ป้าน พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
3.พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนในประเทศไทยเรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระกรุต่างๆ,พระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ท่านสมาชิกกรุณาช่วย”กดติดตาม”และ”กดแชร์” ข้อมูลได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา