พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยคันธาระ ปางปฐมเทศนา
ในโอกาสเริ่มต้นปีใหม่พ.ศ.2568นี้ ทาง “พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา” ขอนำพระพุทธรูปเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ศิลปะของอินเดียโบราณ อายุหลายร้อยถึงกว่า1พันปี มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณา โดยพระพุทธรูปทั้งหมดที่นำมาให้ชมในครั้งนี้ เป็นศิลปะแบบอินเดียโบราณทั้งหมดตั้งแต่ยุคต้นและยุคถัดมาให้ได้เห็นวิวัฒนาการของศิลปะการออกแบบ โดยที่ท่านจะไม่ได้พบเห็นในพระพุทธรูปแบบศิลปะของไทยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ยุคต้นสมัยทวารวดีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตโกสินทร์
โดยรายละเอียดพุทธศิลป์อินเดียโบราณที่จะพบได้แก่
– มีพระเกศา(เส้นผม) เป็นแบบเส้น ไม่ใช่เป็นกันหอยหรือตุ่มแหลม(หนามขนุน)
– มีพระอุณหิสหรืออุษณีษะคือตุ่มหรือต่อมนูนอยู่บริเวณกึ่งกลางศรีษะ
– มีประภามณฑล(เกือบทุกองค์ยกเว้นในยุคปลาย)ประกอบอยู่เป็นรัศมีเป็นวงกลมโดยรอบด้านหลังพระเศียร (ศรีษะ) โดยรายละเอียดชองประภามณฑลจะแตกต่างกันทั้งแบบเรียบไม่มีลวดลายตกแต่งในยุคต้นและแบบมีลวดลายตกแต่งในยุคถัดมา
– มีพระอุณาโลมคือจุดกลมอยู่กึ่งกลางพระนลาฏ ซึ่งเป็นจุดสำคัญ1ใน32ของมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ
– รายละเอียดของพระพักตร์และพระเนตร(ตา),พระขนง(คิ้ว),พระนาสิก(จมูก)และพระโอฐ(ปาก)จะงดงาม,สมส่วนและเป็นเอกลักษณ์
– มีการทรงจีวรแบบห่มคลุมไม่มีสังฆาฏิให้เห็น หรือในยุคถัดมาจะมีห่มเฉียงบ้างและจะเริ่มพบเห็นสังฆาฏิที่เป็นแบบซ้อนหรือที่เรียกว่าสังฆาฏิแบบ”พลีตจีบ”
– มีพระอิริยาบถในท่าประนั่งขัดสมาธิเพชรทั้งหมด
– ฐานที่ประทับในยุคต้นจะเป็นรูปกวางหมอบ,ฐานที่มียักษ์ยกหรือแบกอยู่ที่ใต้ฐาน ส่วนในยุคปลายจะเริ่มปรับรูปแบบเป็นแบบฐานกลีบบัวที่มีรายละเอียดต่างกันไป
– การหล่อโลหะจะมีความปราณีตและสมบูรณ์งดงามมาก บ่งชี้ถึงความตั้งใจและความสามารถในเชิงช่างยุคโบราณได้เป็นอย่างดี
– ดินใต้ฐานจะมีความเก่า,แกร่งจัดสมอายุทุกองค์
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระกรุต่างๆ,พระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ท่านสมาชิกกรุณาช่วย”กดติดตาม”และ”กดแชร์” ข้อมูลได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”