พระพุทธรูปสุโขทัย,เชียงแสน-สุโขทัย และเชียงแสนสิงห์ 3
” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา ” ขอนำพระพุทธรูปศิลปะ “เชียงแสน-สุโขทัย” มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณา
สำหรับรูปแบบพิมพ์ของพระพุทธรูปองค์นี้นั้น จะมีความแตกต่างจากพระพุทธรูปที่พบเห็นปกติทั่วไป เนื่องจากจะมีศิลปะที่ผสมผสานกันทั้ง “ศิลปะเชียงแสน (สิงห์ 3)”และ “ศิลปะสุโขทัย” มารวมอยู่ในองค์เดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นช่วงรอยต่อของยุคศิลปะที่เปลี่ยนผ่านจากยุคสมัยเชียงแสนไปยังยุคสมัยของสุโขทัย ที่ช่างจะถ่ายทอดแนวคิดจากความเป็นอยู่ของบ้านเมืองในสมัยนั้นๆ ออกมาในรูปแบบของศิลปะ เช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนั้น ลักษณะรายละเอียดที่องค์พระประธานจะมีความสมบูรณ์ มีพระพักตร์อิ่มเอิบแย้มยิ่ม,งดงาม,อ่อนช้อย ตามสภาพความเป็นอยู่ของบ้านเมืองในยุคนั้นที่มีความสงบสุข,อาหารอุดมสมบูรณ์และไม่มีสงคราม
สำหรับช่วงระยะเวลาที่มีการสร้างนั้นน่าจะเป็นช่วงของเชียงแสนยุคปลายต่อเนื่องมาสู่ยุคสมัยของสุโขทัย ที่ช่างได้มีการปรับรูปแบบรายละเอียดพิมพ์ต่างๆใหม่ตามจินตนาการและความต้องการ ทำให้มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนยุคก่อนหน้านั้น
โดยพบว่าพระ พุทธรูปองค์นี้จะมีความงดงาม,อ่อนช้อยเป็นพิเศษ ในรูปแบบพิมพ์ที่มีการผสมผสานกันหลายอย่างของ 2ยุคสมัยคือ
** รายละเอียดพิมพ์ที่คล้ายกับยุคเชียงแสนสิงห์ 3 **
1.พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบเหมือนกัน
2.พระเกศเป็นรูปเปลวเพลิงเหมือนกันโดยทั้งยุคเชียงแสนและเชียงแสน-สุโขทัย ยอดพระเกศจะเป็นแบบ 4ชั้น
3.พระพักตร์ของเชียงแสน-สุโขทัยจะยาวกว่าเป็นรูปสาม เหลี่ยม แต่สิงห์ 3 พระพักตร์จะกลมกว่า
4.รายละเอียดบนพระพักตร์ จะต่างจากยุคเชียงแสนทั้งคิ้ว,ตา,จมูกและปาก แต่จะมีจุดเดียวคือพระหนุ(คาง)จะเป็นปมที่เหมือนกันเท่านั้น
5.ลำพระองค์จะอวบอ้วนคล้ายกัน แต่ลักษณะความอ่อนช้อยของแขน,มือของเชียงแสน-สุโขทัย จะมีมากกว่า
6.ฐานในยุคเชียงแสน-สุโขทัย จะเป็นฐานเรียบชั้นเดียว(ฐานเขียง) ต่างจากยุคเชียงแสนที่เป็นฐานสูง 2ชั้น
7.ดินใต้ฐานจะเป็นดินไทยเก่าแกร่งจัดเหมือนกัน
**รายละเอียดพิมพ์ที่คล้ายกับยุคสุโขทัย**
1.พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบเหมือนกัน
2.ยอดพระเกศแบบเปลวเพลิงเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดโดยเชียงแสน-สุโขทัยจะเป็นแบบ 4ชั้น แต่ของยุคสุโขทัยจะเป็นแบบ 3ชั้น (ยอดพระเกศเปลวเพลิงจะสั้นกว่า)
3.พระพักตร์ของเชียงแสน-สุโขทัยจะสั้นกว่า แต่ของสุโขทัยจะยาวรีและดูงดงามและอ่อนช้อยกว่า
4.รายละเอียดบนพระพักตร์เช่นคิ้ว,ตา,จมูกและปากจะคล้ายกับสุโขทัยมากว่า จะต่างกันตรงที่พระหนุ(คาง)จะเป็นปมเหมือนยุคเชียงแสน แต่ของสุโขทัยคางจะไม่มีปม
5.ลำพระองค์จะอวบอ้วนคล้ายกัน แต่ยุคสุโขทัยจะอวบอ้วนสมบูรณ์กว่าและลักษณะความอ่อนช้อยของแขน,มือ ของยุคสุโขทัย จะมีมากกว่า
6.ฐานในยุคเชียงแสน-สุโขทัย จะเป็นฐานเรียบชั้นเดียว (ฐานเขียง)เหมือนกับยุคสุโขทัย แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของฐาน โดยขนาดฐานยุคเชียงแสน-สุโขทัย จะใหญ่กว่าขนาดหน้าตักพระประธานเล็กน้อย แต่ของยุคสุโขทัยนั้น ฐานจะเล็กกว่าขนาดหน้าตักพระประธานมาก
7.ดินใต้ฐานจะเป็นดินไทยเก่าแกร่งจัดเหมือนกัน
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”