พระพุทธรูปเชียงแสนยุคต้นศิลปะ”ขนมต้ม”
” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา ” ขอนำพระพุทธรูปศิลปะ “เชียงแสนสิงห์ 1ยุคต้น”ที่นิยมเรียกว่า “พิมพ์ขนมต้ม” จำนวน 3องค์มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณา สำหรับพระพุทธรูปเชียงแสนนั้น ได้มีการสร้างไว้หลายยุคสมัยในช่วงเวลากว่า 300ปี และถูกสร้างในหลากหลายสถานที่ทางภาคเหนือของไทยในอดีตไปจนถึงประเทศลาว โดยในยุคแรกๆนั้นฐานของพระประธานจะเป็นแบบฐานเรียบชั้นเดียวที่นิยมเรียกว่า”ฐานเขียง” เมื่อนำมาเทียบรายละเอียดของศิลปะกับสิงห์ 1ยุคปลาย ที่เป็นแบบฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้ว จะมีความงดงามน้อยกว่า แต่จะมีความเก่าแก่กว่า รายละเอียดของพระประธานของยุคต้นนี้จะมีพระวรกายที่อวบอ้วน บ่าใหญ่ เอวเล็ก ดูล่ำสัน เน้นกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ จึงเป็นที่มาของการเรียกว่า “พระขนมต้ม” หรือ “พระพุทธปฏิมารูปแบบขนมต้ม”
สำหรับพระพุทธรูปทั้ง 3องค์ที่นำมาแสดงนั้นมีข้อมูลดังนี้
– เป็นพระพุทธรูปสิงห์ 1ขนาดเดียวกันทั้งหมดมีหน้าตักกว้าง 8นิ้ว ความสูง 12.5นิ้ว
– การสร้างแบบหล่อโบราณเบ้าทุบ
– สร้างด้วยโลหะผสมสัมฤทธิ์ มีสนิมสีเขียวเข้ม
– ดินใต้ฐานมีความเก่าและแกร่งจัดมาก
– รายละเอียดพุทธศิลป์ต่างๆจะคล้ายกับแบบเชียงเเสนทั่วๆไป แต่จะ
มีข้อแตกต่างบางประการดังนี้
1.พระพักตร์(หน้า)จะยาวรีกว่าเล็กน้อย
2.พระวรกายอวบอ้วน เน้นกล้ามเนื้อเป็นมัดๆทั้งลำพระองค์,พระกร(แขน)และพระเพลาท่อนล่าง(ขา)(พิมพ์ขนมต้ม)
3.ฐานทำเป็นแบบเรียบชั้นเดียว (ฐานเขียง) ไม่ใช่ฐานบัว
4.ขนาดความกว้างของฐานจะแคบกว่าขนาดความกว้างของหน้าตัก
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
The “Puttharugsa Private Museum” proudly presents three early period “Chiang Saen Singha 1” style Buddha statues, commonly known as the “Kanom Tom” type, for members to study and appreciate. The Chiang Saen Buddha statues were created over a period of more than 300 years and across various locations in Northern Thailand and even in Laos. In the early periods, the base of the Buddha statues was a single smooth tier, often called the “Khieng base.” Compared to the later “Singha 1” statues with the “Inverted Lotus” base, the early period statues might appear less elegant but are older and hold more historical value. These early statues feature a robust body with broad shoulders, a slim waist, and prominent muscle features, giving rise to the name “Kanom Tom Buddha” or “Kanom Tom Style Buddha Statue.”
The three Buddha statues on display have the following details:
All three are of the “Singha 1” type, each with a width of 8 inches and a height of 12.5 inches.
Created using the traditional lost-wax casting method.
Made of bronze alloy with a dark green patina.
The clay beneath the base is very old and exceptionally hard.
The statues possess common Chiang Saen characteristics but with some differences:
The face is slightly longer.
The body is fuller with more pronounced muscles, especially on the arms, chest, and legs (“Kanom Tom” style).
The base is a single smooth tier (Khieng base) instead of a lotus base.
The base width is narrower than the statue’s body width.
You can explore more about various categories of Buddha statues, amulets, and ancient artifacts at the “Puttharugsa Private Museum,” which is dedicated to collecting and preserving rare items for educational purposes without any commercial intent. Visit through:
Website: www.puttharugsa.com
Facebook Page: “Puttharugsa Private Museum”
YouTube Channel: “Puttharugsa Private Museum”
“佛陀鲁克萨私人博物馆”非常荣幸地向会员们展示三尊早期“清盛狮1”风格的佛像,通常称为“Kanom Tom”型,以供大家研究和欣赏。清盛佛像在超过300年的时间内创建,分布于泰国北部和老挝的各个地区。早期的佛像底座为单层平滑底座,通常被称为“Khieng底座”。与后期的“狮1”型带有“倒莲花”底座的佛像相比,早期的佛像可能显得不那么优雅,但更古老且具有更高的历史价值。这些早期的佛像特征是身体健壮,肩宽腰细,肌肉线条突出,因此被称为“Kanom Tom佛”或“Kanom Tom风格佛像”。
展示的三尊佛像的详细信息如下:
三尊皆为“狮1”类型,底座宽度为8英寸,高度为12.5英寸。
采用传统的失蜡铸造法制作。
使用青铜合金制作,带有深绿色锈迹。
底座下的黏土非常古老且硬度极高。
这些佛像具备清盛风格的典型特征,但有一些不同之处:
佛面稍长。
佛体较为丰满,肌肉更加明显,尤其是手臂、胸部和腿部(“Kanom Tom”风格)。
底座为单层平滑底座(Khieng底座),而非莲花底座。
底座宽度小于佛像的宽度。
您可以通过“佛陀鲁克萨私人博物馆”进一步探索更多佛像、佛牌和古代文物,该博物馆致力于收集和保存稀有藏品,旨在教育,而无任何商业意图。访问方式: