พระพุทธรูปเชียงแสน ฐานแบบพิเศษ 5ชั้น
” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา ” ขอนำพระพุทธรูปศิลปะ “เชียงแสน” ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ที่พบเห็นได้น้อยมาก โดยมีความแตกต่างจากรูปแบบพิมพ์เชียงแสนปกติที่พบเห็นทั่วไป มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณา
สำหรับพระพุทธรูปเชียงแสนนั้น มีการสร้างไว้หลายยุคสมัยในช่วงเวลากว่า 300ปี และถูกสร้างไว้หลายสถานที่ของทางภาคเหนือของไทยในอดีต และยังข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปจนถึงประเทศลาว
โดย”รายละเอียดฐาน” ขององค์พระประธานนั้น ในยุคต่างๆได้มีการสร้างไว้แตกต่างกันดังนี้
1.”ยุคต้น” นั้นลักษณะของฐานของพระประธานจะเป็นแบบฐานชั้นเดียวแบบเรียบที่นิยมเรียกว่า “ฐานเขียง”
2.”ยุคปลาย” ที่มีฐานแบ่งได้หลายรูปแบบ ได้แก่
-ฐาน 2ชั้น แบ่งออกเป็น
แบบบัวคว่ำบัวหงายหรือแบบบัวหงาย
-ฐานแบบมีขาตั้งยกสูง
-ฐานแบบหลายชั้น
สำหรับพระพุทธรูปองค์ที่นำมาแสดงนั้นมีรายละเอียดพิมพ์ที่มีความพิเศษดังนี้
– เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 9นิ้ว ความสูง 19นิ้ว
– การสร้างเป็นแบบหล่อโบราณเบ้าทุบ ด้วยโลหะผสม(สัมฤทธิ์) มีสนิมสีเขียวเข้ม
– ดินใต้ฐานเป็นดินไทยที่มีความเก่าและแกร่งจัดมากสมอายุหลายร้อยปี
– รายละเอียดพุทธศิลป์โดยรวมต่างๆจะเป็นแบบเชียงเเสน โดยน่าจะเป็นศิลปะในช่วงเชียงแสนยุคปลายที่ช่างได้ออกแบบไว้เป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ดูแตกต่างจากรูปแบบเดิมๆที่เคยมีการสร้างกันมา โดยจะมีรายละเอียดที่แตกต่างในบางประการคือ
– พระวรกายที่อวบอ้วนมีมัดกล้ามเนื้อของพระกร(แขน)และพระเพลา(ขา)แบบ”ขนมต้ม”
– ลักษณะพิเศษที่สำคัญที่เด่นชัดทำให้แตกต่างคือ ลักษณะของฐานที่เป็นแบบ 5ชั้น ไม่ใช่แบบฐานเขียงหรือฐานบัวแบบปกติที่พบเห็นทั่วไป
– ขนาดความกว้างของฐานจะน้อยกว่าความกว้างของหน้าตักขององค์พระประธานอู่เล็กน้อย
– ฐานมีความสูงมากกว่าพระเชียงแสนฐานปกติทั่วไป และที่เด่นชัดคือฐานจะแบ่งออกเป็นชั้นๆทั้งหมด 5ชั้น แต่ละชั้นจะมีเอกลักษณ์ ไม่ได้ลดหลั่นจากล่างขึ้นบน แต่ฐานตรงกลางจะแคบกว่าด้านบนและด้านล่าง
– ฐานชั้นบนสุดจะมีกลีบบัวหงายรอบฐานยกเว้นตรงกึ่งกลางด้านหลังแบละขนาดกลีบบัวจะเล็กกว่าเมื่อเทียบกับแบบปกติที่เห็นทั่วไป กลีบบัวจะมีมิติซ้อนกันอย่างงดงามและเรียบร้อย แต่จะมีกลีบบัวคว่ำเพียงกลีบเดียวที่อยู่ตรงกลางด้านหน้าของฐานเท่านั้น
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”