พระพุทธรูปและเทวรูป ประทับในซุ้มเรือนแก้ว ศิลปะสมัยโบราณ
“พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา” ขอนำพระพุทธรูปและเทวรูปทำจากโลหะสัมฤทธิ์(สนิมเขียว) ประทับในซุ้มเรือนแก้วยุคโบราณอายุหลายร้อยปีถึงกว่า1พันปี ของจังหวัด มหาสารคาม มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณา จำนวน 4องค์
1.พระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มเรือนแก้ว
2.เทวรูป 4กรประทับยืนในซุ้มเรือนแก้ว
3.พระนารายณ์ 4กรทรงครุฑ ประทับยืนในซุ้มเรือนแก้ว
4.พระพิฆเนศประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว
จากการพิจารณาทั้ง 4องค์ พบว่าสนิมโลหะซึ่งเป็นสนิมเขียวของโลหะสัมฤทธิ์ที่มีความชื้น,ดินสีแดงที่เกิดจากการฝังลงกรุไว้,ดินที่บรรจุอยู่ใต้ฐานองค์พระทุกองค์แล้วสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในยุคเดียวกันและจากช่างศิลป์ยุคเดียวกัน
หลักในการพิจารณาพระพุทธรูปและเทวรูปสัมฤทธิ์หล่อโบราณได้แก่
1.พุทธศิลป์และวิธีการสร้างที่ถูกต้อง ศิลปะนั้นเป็นจุดแรกจะเห็นได้ง่าย, ของปลอมจะดูแข็งไม่นิ่มตาขาดความงดงาม,อ่อนช้อยและผรายละเอียดไม่ตรงตามยุค เช่นพระพุทธรูปในยุคนี้คือยุคทวาราวดีจะมีพระพักตร์ที่เป็นเอกลักษณ์คือหน้าเหลี่ยม,คิ้วปีกกา,จมูกใหญ่,ปากหนา ถ้ารายละเอียดผิดไปแสดงว่าทำใหม่ขึ้นมา เพราะคนทำปลอมไม่มีความรู้
การสร้างนั้นใช้วิธีหล่อแบบโบราณ(หล่อเดี่ยว)ดังนั้นต้องพิจารณาการสร้างที่ถูกต้อง
2.วัสดุหรือโลหะที่สร้างถูกต้อง โลหะที่ใช้สร้างคือโลหะที่มีค่าในยุคนั้นมาผสมรวมกันเช่นทองคำ,เงิน,ทองแดงฯลฯ ลักษณะทางกายภาพที่พบคือองค์พระจะมีนัำหนักมาก,ไม่มีสนิมดำคล้ายสนิมเหล็ก,สีโลหะเมื่อนำคราบสนิมออกจะเป็นสีเหลืองทอง สนิมจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือถ้ามีความชื้นก็จะเป็นสนิมสีเขียว
3.อายุ,ความเก่าถูกต้อง การพิจารณาความเก่านั้นโดยดูจาก
-สนิมโลหะเก่าจริงไม่ใช่ทำเก่า สนิมเกิดจากเนื้อในสะสมหนาตัวทีละน้อยจับแน่นกับผิวโลหะและสีจะเข้ม,อ่อนไม่เท่ากัน ของปลอมสนิมจะหนาเท่ากันทุกจุดและสีสนิมเท่ากันทุกจุด,สนิมปลอมจะหลุดง่ายไม่จับกับผิวโลหะ,สีสนิมปลอมจะดูผิดธรรมชาติ
-ดินใต้ฐานเก่าสมอายุ ดินใต้ฐานต้องเก่า,แกร่งสมอายุ
-ดูอายุได้จากศิลปะยุคโดยดูรายละเอียดถูกต้องตรงตามพุทธศิลป์ในยุคที่สร้างหรือไม่ ของปลอมที่ทำใหม่พุทธศิลป์จะทำไม่ตรงยุค
พระพุทธรูปและเทวรูปแบบนี้จะมีการทำเลียนแบบจำนวนมากท่านต้องพิจารณาให้รอบคอบให้ครบทั้ง 3องค์ประกอบข้างต้นทั้งศิลปะ,โลหะ,สนิมเขียวและความเก่า
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.puttharugsa.com และช่องยูทูป “พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”