พระพุธรูปสัมฤทธิ์อินเดียโบราณ “ปางสนเข็ม-ฐานยักษ์แบก”
“พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา” ขอนำพระพุทธรูปอินเดียโบราณที่หาชมยากมากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่ง ที่ผู้เขียนมั่นใจว่าจะไม่มีสมาชิกท่านใดเคยพบเห็นจากที่ใดมาก่อน นั่นคือพระพุทธรูปเนื้อโลหะสัมฤทธิ์”ฐานยักษ์แบก” เนื่องมาจากการออกแบบศิลปะที่มีความแปลกแปลกตาตั้งแต่รายละเอียดของพระประธานในทุกรายละเอียด,ประภามณฑล โดยเฉพาะส่วนที่ไม่เคยพบจากพระพุทธรูปทั่วๆไปคือส่วนที่เป็น”ฐานยักษ์แบก”,จากผลงานการหล่อที่สมบูรณ์, ละเอียดและงดงามของช่าง ที่หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์และสุดท้ายคืออายุความเก่าแก่จัดมาโดยสามารถพิจารณาอายุความเก่าได้จากความหนาของสนิมโลหะและไขที่ผิวโลหะขององค์พระ รวมถึงดินใต้ฐานที่เก่า,แกร่งจัดมากและไม่ใช่ดินไทย จึงทำให้พระพุทธองค์นี้ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่หาชมยากมากที่สุดแบบพิมพ์หนึ่งในความคิดเห็นของผู้เขียน
สำหรับประวัติความเป็นมาของ”ฐานยักษ์แบก”นั้น จะขอกล่าวถึงที่มาโดยย่อตั้งแต่จุดเริ่มต้นของศิลปกรรมในยุคคลาสสิค“เฮเลนิสติค” (Hellenistic) ซึ่งมักจะนิยมสร้างเป็นรูปบุคคลเสมือนจริงทำท่าแบก “โลกกลม” ที่แทนความหมายถึง “สรวงสวรรค์” และในยุคกลางของยุโรป รูป “ลูกโลก” บางแห่งก็จะเปลี่ยนไปเป็น รูป “เสาค้ำโลกา” แทนลูกกลม ซึ่งทั้งหลายก็ล้วนแต่แทนความหมายของ “แอตลาส” อสูรไททัน
การผสมผสานวัฒนธรรมระหว่างกรีก กับพุทธศาสนา เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ครั้งที่ “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหราชา”
(Alexzander The Great) แห่ง “กรีก – มาซีโดเนีย” ได้ยกกองทัพกรีกผสม เข้าสู่อินเดียเหนือ ใน ปี 334 ก่อนคริสตกาล โดยได้มีการนำศิลปะและประติมากรรมต่างเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียเหนือ
“การผสมผสานวัฒนธรรมระหว่าง กรีก กับพุทธศาสนา หรือ กรีโอ –บุดดิสซึ่ม” ได้ส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงกับวัฒนธรรม แนวคิด อุดมคติ ปรัชญาและรูปแบบทางศิลปกรรม ในอินเดียเหนือ
คติตำนานแห่งเทพเจ้าของกรีก ก็เป็น “ศิลปวัฒนธรรม” เรื่องหนึ่ง ที่ถูกถ่ายทอดมาผสมผสานในคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดียเหนือพร้อม ๆ กัน
ตำนาน “ผู้แบกสวรรค์” ใน “เทพปกรณัม” ของกรีก อย่างเรื่องราวของเทพ “แอตลาส” ก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ “คติปรัชญา” ทางพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่มของการผสมผสานทางวัฒนธรรมตั้งแต่นั้นเรื่อยมา โดยช่างพื้นเมืองเองก็ได้รับอิทธพลทางด้านศิลปะมาด้วยเช่นกันและได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเทพไททัน มาเป็นยักษ์แทน
เมื่ออิทธิพลทางวัฒนธรรมและคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ได้ถูกเผยแพร่เดินข้ามมหาสมุทรอินเดียเข้ามาสู่ดินแดน “สุวรรณภูมิ” ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 8 – 9 เป็นต้นมา เทพ “แอตลาส” ผู้แบก “สวรรค์โอลิมปัส” ที่กลายมาเป็น “สวรรค์แห่งเขาพระสุเมรุ” มีพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ประทับในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ตามคติพุทธศาสนา (สายมหายาน)นั้น ก็ได้เดินทางเข้ามาสู่ “สุวรรณภูมิ” ในยุคปรากฏการณ์วัฒนธรรมแบบอินเดีย “ทวารวดี” จึงทำให้เห็นมีการนำรูปแบบ”ฐานยักษ์แบก”มาปรับเปลี่ยนเป็นยักษ์ในรูปแบบตามคตินิยมที่ช่างมีจินตนาการออกมาเป็นผลงานทางศิลปะให้เห็นถึงยุคปัจจุบันนี้ แต่”ฐานยักษ์แบก”นั้นส่วนมากจะเห็นในการตกแต่งในการสร้างฐานเจดีย์เสียมากกว่า ส่วนพระพุทธรูปนั้นแทบจะไม่มีให้พบเห็นเลย
สำหรับพระพุทธรูป”ฐานยักษ์แบก” ที่ทาง”พิพิธภัณฑ์พุทธรักษา” ได้เก็บสะสมไว้จะนวน 2องค์และได้นำมาให้ชมในครั้งนี้มีข้อมูลสำคัญที่ควรทราบดังนี้
– พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ดินใต้ฐานไม่ใช่ดินไทย
– อายุความเก่า จากการประมาณการของผู้เขียนจากพุทธศิลป์,ความหนาของสนิมและไขรวมถึงดินใต้ฐานน่าจะมีอายุหลายร้อยถึงกว่า1พันปี
– หน้าตักพระประธาน 12นิ้ว ความสูงจากฐานถึงยอด 26นิ้ว
– พุทธศิลป์แบบอินเดียโบราณ มีพระประธานประทับนั่งขัดสมาธิเพชร “ปางสนเข็ม” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในพระอิริยาบถแสดงธรรมซึ่งคล้ายกัยการจับเข็ม พระหัตถ์ขวาเป็นการแสดงธรรมเช่นกัน เปรียบเหมือนการจับเส้นด้าย โดยนิ้วกลางของพระหัตถ์ (มือ)ซ้ายจะแตะกับพระหัตถ์(มือ)เสมอ จึงมีการเปรียบเสมือนเป็นกิริยา”สนเข็ม”
– พระประธานทรงจีวรแบบห่มคลุม มีประภามณฑลด้านหลังพระเศียร
– ตรงกลางพระเศียร(อุษณีษะ)เกล้ามวยเป็น 5ชั้น
– มีอุณาโลม(จุดกลม) อยู่กึ่งกลางพระนลาฏ (หน้าผาก)
– ฐานสูงเป็นแบบ 3ขามีลวดลายตกแต่ง โดยเป็น”ฐานยักษ์แบก”ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปอินเดียโบราณ ที่หาชมยากมาก
ลักษณะรายละเอียดตัวของยักษ์ จะมีรายละเอียดที่สมบูรณ์, มีความปราณีตในการออกแบบ ด้านหน้าฐานมียักษ์ 2ตน ด้านหลังมี 3ตน และระหว่างตัวยักษ์แต่ละตนจะมีเสารับน้ำหนักที่มีลวดลายตกแต่งด้วย
– ดินใต้ฐานจะไม่เหมือนดินไทย จะมีความเก่าและแกร่งจัดมากสมอายุ
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระกรุต่างๆ,พระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ท่านสมาชิกกรุณาช่วย”กดติดตาม”และ”กดแชร์” ข้อมูลได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”