ข้อมูลเพิ่มเติม
ขอนำ”พระสมเด็จวัดระฆัง” และ”พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม” มาให้ท่านสมาชิกได้ชมและพิจารณา พระสมเด็จทุกองค์ที่นำมาให้ศึกษาในครั้งนี้ เป็นพระสมเด็จที่พิจารณาได้ง่ายทั้งในเรื่องความงดงาม, ความนิ่มตาในรายละเอียดของพิมพ์, ธรรมชาติต่างๆทั้งด้านหน้า, ขอบข้างและด้านหลังที่เป็นเอกลักษณ์ที่ของปลอมทำไม่ได้, ความเก่าของเนื้อปูนผสมสมอายุการสร้างกว่า 150ปี ทั้งหมดที่นำให้ศึกษามีจำนวน 7องค์ดังนี้
1.พิมพ์เจดีย์ วัดระฆัง 2องค์
2.พิมพ์เกศบัวตูม วัดระฆัง 2องค์
3.พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดระฆัง 1องค์
4 พิทพ์ฐานแซม วัดระฆัง 1องค์
5.พิมพ์สังฆาฏิมีหู(หูช้าง) วัดบางขุนพรหมกรุเก่า(ด้านหลังไม่มีตรายางปั๊ม) 1องค์
การศึกษาและพิจารณาถึงองค์ประหลักของพระแท้เหมือนกับพระเครื่องทุกชนิดคือ
1.รายละเอียดพิมพ์งดงาม,ถูกต้อง, นิ่มตาและวิธีการสร้างถูกต้อง
รายละเอียดพิมพ์นั้นไม่ใช่การจดจำตำหนิรายละเอียดที่เป็นเฉพาะจุดเล็กๆเหมือนกันกับพระเหรียญแต่ให้พิจารณาพิมพ์ในภาพรวมที่นิ่มตารายละเอียดไม่ดูแข็ง มีการหดตัวในส่วนต่างๆมีมิติ พระกดพิมพ์สร้างใหม่กับพระกดพิมพ์ที่สร้างมากว่า 150ปีส่วนของรายละเอียดจะมีการยุบและหดตัวต่างกัน เวลามองภาพรวมถ้าผู้มีประสพการณ์จะเห็นความต่างได้ ส่วนหลักการสร้างนั้น การกดพิมพ์จากหน้าไปหลังและหลังไปหน้านั้นของวัดระฆังกับบางขุนพรหมจะต่างกัน องค์พระสมเด็จที่เห็นขอบข้างด้านหน้าที่นูนเป็นสันจะพบได้ในกรุบางขุนพรหมเป็นอีกหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์
2.เนื้อและมวลสารครบถ้วนถูกต้อง พระสมเด็จเด็จวัดระฆังมีปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลักและมีมวลสารรองอีกหลายชนิดต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของการสร้าง จะนำมาเป็นจุดหลักว่าต้องมีเหมือนกันทุกองค์ไม่ได้ แต่สำหรับวัดระฆังนั้น จุดสำคัญของมวลสารที่พระแท้จะต้องมีคือ”ผงสมเด็จ” หรือ”ผงพุทธคุณ” ที่มีเอกลักษณ์คือ เป็นก้อนขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุด รูปร่างกลม,รี สีขาวขุ่นคล้ายฟันคน ซึ่งใช้กล้องส่องขยาย(กล้องส่องพระธรรมดา)ก็จะเห็นได้ ในบางขุนพรหมจะมีการพิจารณาคราบกรุเพิ่มเติมเข้ามาอีกว่าธรรมชาติของคราบกรุต่างๆที่เกิดจากการนำไปบรรจุกรุซ้อนกันถึง 5ชั้นในเจดีย์ นั้น จะทำให้มีคราบกรุติดที่องค์พระและลักษณะคราบกรุในแต่ละชั้นก็, จะมีความต่างกันออกไปตามตำแหน่ง ท่านต้องศึกษาธรรมชาติของคราบกรุแท้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้แยกจากคราบกรุปลอมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ในกรุบางขุนพรหมยังต้องมีการพิจารณาตรายางที่ปั๊มด้านหลังให้เข้าใจเพราะกรุเก่าจะไม่มีตรายางปั๊มแต่กรุใหม่จะมีตรายางปั๊มที่ด้านหลังที่เรียกกรุเก่ากับกรุใหม่นั้นเพื่อความเข้าใจว่าพระได้มาก่อนหรือหลังการเปิดกรุอย่างเป็นทางการในพ.ศ.2500เท่านั้น แต่พระทั้งหมดสร้างในเวลาเดียวกันและทันช่วงอายุขัยของสมเด็จโต ตรายางแท้กับปลอมจะต่างกัน ถ้าแยกตรายางได้ก็ช่วยได้แยกของปลอมในระดับหนึ่งแล้ว
3.อายุความเก่าสมกับประวัติการสร้าง มากกว่า150ปี การพิจารณาความเก่าของพระเนื้อปูนผสมกับอินทรีย์สารหลายชนิด
-การพิจารณาความแห้งของเนื้อปูนผสมนี้ จะมีเอกลักษณ์ที่เรียกว่ามีความ”หนึกนุ่ม”ในวัดระฆังและ”หนึกแกร่ง” ในบางขุนพรหม
-การพิจารณารอยปริแยก ด้านข้าง, หลัง
-การเกิดหลุมเล็ก, ใหญ่จากการหลุดของก้อนมวลสารหรือจากการย่อยสลายของอินทรีย์สารที่ผสม