ขอนำเหรียญที่ถือว่าเป็น”พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย
” หรือที่เรียกกันว่า “ปู่เหรียญ” มาให้ชมและศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลและภูมิคุ้มกันสำหรับท่านที่สนใจและต้องการเก็บสะสม
ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบคือ
-อายุเหรียญ 123ปี(สร้างพ.ศ.2440)
-ชนิดโลหะที่ใช้สร้างมีชนิดเดียวคือ “ทองแดง”
-รายละเอียดพิมพ์เป็นแบบนูนต่ำ
-วิธีการสร้างเป็นเหรียญปั๊มเลื่อยข้าง(ข้างเลื่อย)
วิธิพิจารณาตามหลักการคือเหรียญต้องมีองค์ประกอบพระแท้ครบทั้ง3อย่างคือ
1อายุความเก่าของเหรียญ ต้องได้ 123ปี โดยดูจาก
-สนิมที่ผิวต้องสมอายุ(เปรียบเทียบตามภาพที่ลงให้ชม)”ลักษณะสนิมทองแดงจะเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ สนิมที่ผิวจะหนาและบางไม่เสมอกันทั้งเหรียญ กรุณาสังเกตให้ละเอียดและแยกการผิวทำเก่าให้ออก(มีตัวอย่างให้ชม)
-การหดตึงตัวของผิวเหรียญต้องสมอายุ ไม่บวม
2.รายละเอียดพิมพ์และวิธีสร้าง
-พิมพ์ต้องเป็นนูนต่ำ
-รายละเอียดและเส้นต่างๆ การแกะตัวอักษรจะเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน โดยขอให้พิจารณาจากภาพที่ขยายให้ชม ให้พิจารณาลึกถึงขนาด ความสูงต่ำในเส้นเดียวกันจะไม่เป็นธรรมชาติไม่เท่ากัน ต้องดูนิ่มตาไม่แข็ง
-ขอบข้างเหรียญเป็นการเลื่อยขอบข้างเหรียญหลังจากปั๊มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่ท่านต้องทราบคือเหรียญนี้พิธีใหญ่ ผู้ที่สร้างคือพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ช่างที่สร้างต้องเป็นช่างหลวง การทำแบบแม่พิมพ์และการสร้างเหรียญเช่นการปั๊มและการเลื่อยข้างเหรียญต่างๆจะปราณีต สวยงดงาม สมบูรณ์ในเหรียญแท้
3.วัสดุที่สร้างถูกต้อง ให้พิจารณาเนื้อโลหะทองแดงเก่ายุคนั้นสีจะออกน้ำตาลอมแดงเล็กน้อย ไม่ใช่สีน้ำตาลธรรมดาเหมือนของเลียนที่ทำภายหลัง
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (11)
เปรียบเทียบสีของทองแดงเก่าแท้และของใหม่ ลักษณของสีสนิม และธรรมชาติความหนาของสนิมที่ไม่เท่ากัน
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (12)
เส้นขวางที่พื้นเหรียญเห็นลางๆที่ด้านหลังเหรียญที่เหรียญปลอมไม่มี
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (14)
เส้นใบโพธิ์ที่พาดผ่านตัวหนังสือจุดนี้ถอดพิมพ์หรือแกะบล็อคใหม่จะทำไม่เหมือน โปรดพิจารณา
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (15)
-(ลูกศรบน)ลักษณะเส้นที่พาดผ่าตัวอักษรที่เป็นธรรมชาติของการแกะพิมพ์ของช่างหลวง -(ลูกศรล่าง)พิจารณารายละเอียดของเส้นใบโพธิ์ที่มีขนาดและมิติสูงต่ำที่อยูในเส้นเดียวกันจะไม่เท่ากัน และดูไม่แข็ง
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (16)
ความแตกต่างที่เห็นเห็นทั้งเนื้อโลหะ ความบวมของเหรียญ รายละเอียดต่างๆ
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (17)
พิจารณเอกลักษณ์การแกะตัวอักษรของช่างหลวงที่ของปลอมจะทำไม่เหมือน
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (22)
ขอบข้างที่ทำแบบลวกๆ ใช้ตะไบแต่งให้พอเห็นเป็นขีดๆเฉียงเหมือนการเลื่อย
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (23)
พิจารณา -บนซ้ายขอบคมบางๆข้างเหรียญจากการเลื่อยข้าง -บนขวาเอกลักษณ์การแกะตัวยันต์อุณาโลมด้านบน -เส้นแกะพิมพ์เกินที่คม ปลายเส้นแหลมที่หัวของตัวยันต์อุณาโลมด้านล่าง
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (25)
ตำแหน่งจุดและเส้นต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์การแกะพิมพ์ที่เป็นธรรมชาติ
พระเครื่องเหรียญชนิดแรกของประเทศไทย (26)
พิจารณารายละเอียดพิมพ์ ลักษณะของเส้นในลวดลายต่างๆที่นิามตาเป็นธรรมชาติ เมื่อนำไปเทียบกับของปลอม