ขอนำวัตถุมงคลของ”หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน” จ.พิจิตร
ของที่เป็นที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งของผู้ที่สนใจพระเครื่องของเมืองไทยตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัตถุมงคลของท่านที่นิยมสูงสุดตลอดกาลที่จะนำมาให้สมาชิกได้ศึกษามีอยู่ 4ชนิดคือ
1.รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา(2องค์)
-พิมพ์3ชาย(1องค์)
-พิมพ์4ชาย(1องค์)
2.รูปหล่อพิมพ์นิยม(8องค์)
3.เหรียญหล่อจอบใหญ่(2องค์)
4.เหรียญหล่อจอบเล็ก แบ่งเป็น
-พิมพ์แข้งตรง(1องค์)
-พิมพ์แข้งติด(1องค์)
-พิมพ์เท้ากระดก(1องค์)
ซึ่งในวันนี้ทางเพจจะนำมาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาครบทุกพิมพ์ จำนวนทั้งหมด 15องค์ ซึ่งบางตำราบางพิมพ์อาจจะมีการแยกย่อยลงไปบ้างแต่จะไม่ขอลงในรายละเอียด
หลักการพิจารณาโดยรวมของทั้ง4แบบนั้นจะคล้ายๆกัน คือ
1.ใช้โลหะผสมในการสร้างหลายชนิดมีทองเหลืองเป็นหลัก, ทองคำ, เงิน, ทองแดง ดังนั้นเนื้อโลหะขององค์พระจะไม่เป็นเนื้อเดียวกันตลอด เวลาขยายดูที่ผิวด้วยกล้องขยาย และจากการศึกษาที่ผ่านมานั้นจะพบเห็นเกล็ดกระดี่ทองคำที่คำแทบทุกองค์มากบ้างน้อยบ้างและบางองค์จะเป็นเนื้อแก่ทองคำจากหรือจะเรียกว่าเนื้อทองคำก็น่าจะได้ซึ่งทางเพจได้นำมาใช้ศึกษา1องค์
2.วิธีการสร้างทั้ง 4แบบใช้วิธีการหล่อทั้งหมด ซึ่งด่อนจะเป็นแบบแม่พิมพ์นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการปั้นหุ่นขี้ผึ้งหรือหุ่นเทียนก่อนแล้วจึงทำแบบแม่พิมพ์ขึ้นมาสำหรับหล่อ ดังนั้นจากข้อมูลจุดนี้ทำให้เวลาที่เราพิจารณาองค์พระที่หล่อเสร็จแล้วจะต้องชัดเจน ลึกและะสมบูรณ์ทุกองค์เป็นข้อมูลไว้เสมอทุกครั้ง ซึ่งการหล่อมี 2แบบคือ
2.1หล่อแบบโบราณเบ้าประกบซึ่งมีอยู่แบบเดียวคือ”รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา”ดังนั้น ทุกๆองค์จะต้องมีรอยต่อตะเข็บด้านข้างของเบ้าประกบให้เห็นทุกองค์และถึงแม้ว่าพิทพ์ขี้ตาจะงดงามไม่เท่าพิมพ์นิยมและรายละเอียดพิมพ์จะต้องลึก ชัดเจนเสมไม่ใช่เบลอๆตื้นๆแบบของปลอมที่เล่นหากัน โปรดจดจำให้แม่นยำเวลาที่พิจารณาทุกครั้ง
2.2แบบหล่อช่อจะพบใน”รูปหล่อพิมพ์นิยม”,”เหรียญหล่อจอบใหญ่”และ”เหรียญหล่อจอบเล็ก” ดังนั้นเวลาที่พิจารณาด้านข้างองค์พระจะไม่มีรอยตะเข็บด้านข้างให้เห็นเหมือนพิมพ์ขี้ตาแต่จะต้องมีรอยตัดช่อและแต่งตะไบใต้ฐานทุกองค์ บางองค์ในพระเลียนแบบจะทำรอยเหมือนตัดช่อแต่ไม่มีรอยตะไบแสดงว่าหล่อมาพร้อมองค์หลอกว่าทำตัดช่อ ถือว่าผิดธรรมชาติ และในเหรียญหล่อจอบใหญ่และจอบเล็กก็จะต้องมีรอยตัดช่อและรอยตะไบที่ใต้ฐานเหรียญเสมอเช่นเดียวกันต้องพลิกดูใต้ฐานทุกครั้ง
3.รายละเอียดพิมพ์ของแต่ละแบบทั้ง4นั้น เบื้องต้นจะต้องพิจารณาในภาพรวมทั้งองค์ก่อนดังนี้
-ความลึก ชัดเจน ในรายละเอียดจะต้องมีทั้ง4แบบเพราะว่าพระออกแบบแม่พิมพ์จากหุ่นที่ปั้น จะต้องลึกชัดในรายละเอียด แต่ของปลอมจะตื้นเบลอกว่าชัดเจน จุดนี้คนทั่วไปจะไม่สังเกต(ซึ่งทางเพจได้นำภาพมาเปรียบเทียบให้ชม)
-ลักษณะ รายละเอียดทางกายวิภาคขององค์พระเช่นเศียรบาตร, จมูกชมพู่, ปากเผยอเป็นต้น นอกจากนั้นให้ดูที่ฐานและจีวรที่เป็นเอกลักษณ์ ที่เลียนแบบไม่เหมือนถ้าท่านได้เห็นของจริงมาก่อน
-มีคราบขี้เบ้าให้พบเห็น เนื่องจากทั้ง4แบบเป็นการหล่อจากแม่พิมพ์ ซึ่งในแม่พิมพ์จะมีขี้เบ้าอยู่และจะติดมากับองค์พระโดยเฉพาะในซอกลึกๆ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดี
-การหล่อนั้นบางองค์จะหล่อได้สมบูรณ์มาก บางองค์อาจจะมีหลุมที่เกิดจากฟองอากาศในแม่พิมพ์ หรือมีเนื้อเกินกลมที่เรียกลูกบอลบ้าง เสร็จแล้จะมีการแต่งตะไบเนื้อเกินให้พบเห็น ซึ่งรอยตะไบจะต้องเก่าตามอายุพระด้วย
-ขอเพิ่มเติมในเหรียญหล่อ”จอบใหญ่” และ”จอบเล็ก” ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมนอกจากองค์แล้วก็คือหูเหรียญด้านหลังที่เราเรียกกันติดปากว่า”ตัวปลิง” นั้นเป็นจุดสำคัญที่ใช้พิจารณาความแท้ปลอมได้เลย หลายท่านยังไม่ทราบว่า”ตัวปลิง” นี้เกิดจากอะไร จึงขออธิบายสั้นๆดังนี้ครับ เพราะเหรียญหล่อแบบนี้จะต้องใช้แบบแม่พิมพ์2อันมาประกบกันคือแม่พิมพ์ตัวเหรียญ1อันและแม่พิมพ์หูเหรียญอีก1อันมาประกบกันแล้วจึงเทโลหะเหลวที่เตรียมไว้ลงในแม่พิมพ์ทั้ง2 (เหรียญหล่อโบราณนี้ทุกแบบของเกจิอื่นๆก็สร้างวิธีเดียวกัน)ดังนั้นรอยต่อของแม่พิมพ์ทั้ง2จะปรากฏให้เห็นที่โคนหูเหรียญด้านหลังเมื่อโลหะเย็นลงจึงเห็นรอยต่อเป็นรูป”ตัวปลิง” ที่เราคุ้นตากันอยู่นั่นเอง
4.ความเก่าต้องสมอายุ เนื่องจากอายุการสร้างที่มากกว่า 100ปีล่วงมาแล้ว ดังนั้นธรรมชาติของโลหะผสมจะต้องเกิดสนิมของโละหะที่ผิวให้พบเห็นไม่มากก็น้อย และต้องทราบวิธีดูสนิมเก่าธรรมชาติกับสนิมที่ทำขึ้นจะทำเป็นคราบดำๆขึ้นมา ซึ่งจะต่างกันทั้งความใหม่ของคราบ, สีและความความหนา
-ความเก่าสามารถดูได้จากการหดตัวของโลหะเกิดการตึงผิว ยุบย่นให้พบเห็น ผิวต้องไม่บวม
สรุปคร่าวๆคือขอให้ท่านสมาชิกได้พิจารณาพิมพ์ที่ต้องลึก ชัดไม่เบลอ มีเอกลักษณ์ของพิมพ์ในแต่ละแบบที่ได้นำมาให้ศึกษา, ความเก่าต้องสมอายุและโลหะผสมที่สร้างต้องถูกต้อง เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ให้ครบถ้วนทุกครั้ง
ภาพรวมรูปหล่อพิมพ์นิยม8องค์, พิมพ์ขี้ตา2องค์, พิมพ์จอบใหญ่2องค์และจอบเล็ก3องค์
ภาพรวมรูปหล่อพิมพ์นิยม8องค์, พิมพ์ขี้ตา2องค์, พิมพ์จอบใหญ่2องค์และจอบเล็ก3องค์
2องค์บนขวามือคือพิมพ์ขี้ตา ที่เหลือคือพิมพ์นิยม8องค์
2องค์บนขวามือคือพิมพ์ขี้ตา ที่เหลือคือพิมพ์นิยม8องค์
พิมพ์นิยมเนื้อทองคำสภาพสมบูรณ์ ยังมีคราบขี้เบ้าให้พบเห็นอยู่ทั่วไป
พิมพ์นิยมเนื้อทองคำสภาพสมบูรณ์ ยังมีคราบขี้เบ้าให้พบเห็นอยู่ทั่วไป
เศียรรูปบาตรด้านหลังชัดเจน เนื้อแก่ทองคำสีเหลืองสุก และคราบขี้เบ้า
เศียรรูปบาตรด้านหลังชัดเจน เนื้อแก่ทองคำสีเหลืองสุก และคราบขี้เบ้า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (43)
1.หูที่หนาโค้งงดงามพาดมาที่เหนือบ่าชัดเจน 2.สังฆาฏิที่หนาพาดบ่ามีมิติชัดเจนเมื่อเทียบกัน 3.เส้นจีวรที่ด้านข้างแขนซ้ายที่นูน ชัดแต่ของปลอมจะแบนราบแนบติดกับต้นแขนดูไม่สมบูรณ์ ข้อ1-3นี้ สังเกตได้ชัดเจน แต่คนทั่วไปไม่ค่อยได้นำมาพิจารณา แต่ไปสนใจจุดตำหนิที่แนะนำ เช่นใบหน้ามากกว่า
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (32)
1.ลักษณะของเท้าซ้ายที่ต้องดูไม่แข็งและสั้นแต่จะโค้งเว้าดูนิ่มตา และยาวรีงดงาม 2.ฐานจะไม่หนามากและจะโค้งมน ด้านหน้าขวาเว้าเล็กน้อยไม่แหว่งหายไปมากจนดูผิดปกติขอวแบบพิมพ์
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (50)
เทียบความต่างของพิมพ์นิยมและพิมำ์ขี้ตาเฉพาะพิมพ์ด้านหน้าคือ 1.ก้อนเล็กๆ(ที่มาของคำว่าขี้ตา)ที่ตาซ้ายองค์พระมีในพิมพ์ขี้ตา 2.ใบหู2ข้างในพิมพ์นิยมชัดเจนงดงามกว่าเพราะพิมพ์ขี้ตาเป็นพิมพ์โบราณช่างฝีมือชาวบ้านและหล่อเบ้าประกบ รายละเอียดจึงงดงาทน้อยกว่า 3.ปากในพิมพ์นิยมจะตรงเเละเผยอเล็กน้อยแต่พิมพ์ขี้ตามุมปาก2ข้างจยกขึ้นยิ้มคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ 4.รายละเอียดเส้นจีวรพิมพ์นิยมจะชัดเจนและงดงามกว่าโดยเฉพาะที่พาดผ่านต้นแขนซ้าย 5.ปลายนิ้วโป้งเท้าขวาในพิมพ์ขี้ตาจะโค้งลงมาและกลืนหายไปในเ… ดูเพิ่มเติม
คราบสนิมความเก่าเป็นธรรมชาติ และคราบขี้เบ้าให้พบเห็นในบางจุดที่เป็นซอกลึกๆ
คราบสนิมความเก่าเป็นธรรมชาติ และคราบขี้เบ้าให้พบเห็นในบางจุดที่เป็นซอกลึกๆ
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (27)
พิจารณาความคมชัดลึกของพิมพ์ ธรรมชาติความเก่าพร้อมคราบขี้เบ้า โลหะผสมพร้อมสีแดงที่แสดงถึงโลหะผสมที่แก่ทอง