Select Page

สมเด็จอรหัง สังฆราชสุก ไก่เถื่อน

“พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”ขอนำ”พระสมเด็จอรหัง​ ของสมเด็จพระญานสังวร​ หรือที่รู้จักและคุ้นเคยกันในนามว่า”พระสังฆราช​ สุก​ ไก่เถื่อน” วัดมหาธาตุ
ซึ่งพระสมเด็จทั้ง 2องค์นี้ เป็นของแท้(ขอย้ำ) โดยมีความแตกต่างกันของพิมพ์ ได้แก่
1.พิมพ์เกศอุ​ เนื้อพระมีสีหรือวรรณะขาว
2.พิมพ์ฐานคู่ เนื้อพระมีสีหรือวรรณะเขียว
โดยทั้ง 2พิมพ์นั้นด้านหลังจะพบว่ามีอักษรขอมโบราณกำกับไว้ อ่านว่า”อรหัง” โดยมีการกดพิมพ์ลึกลงไปในเนื้อพระ
รายละเอียดและประวัติการสร้างท่านสามารถหาข้อมูลได้ทั่วไปในสื่ออนไลน์กลุ่มพระเครื่องต่างๆ ซึ่งจะไม่แตกต่างกันในรายละเอียด​ แต่ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือตัวอย่างพระที่นำมาแสดง​ ดังนั้นการมีองค์ต้นแบบที่เป็นพระของแท้ไว้พิจารณา​ จะทำให้ท่านศึกษาและนำไปเปรียบเทียบเวลาศึกษาได้ชัดเจนและง่ายขึ้น
ผมจึงขออธิบายและแนะวิธีพิจารณาดังนี้ครับ
1.ความเก่าของพระสมเด็จนี้ประมาณ200ปี​ (เก่ากว่าพระสมเด็จวัดระฆัง)​ดังนั้น​ สภาพผิวพระ​ ความเก่า​ การหดตัว​ของเนื้อพระ​ การบิดตัวขององค์พระ คราบความเก่าต่างๆต้องสมกับอายุ​ มีความหนึกนุ่ม, แกร่งของเนื้อ​ชัดเจน​จากความเก่าเหมือนพระสมเด็จวัดระฆัง​ เนื้อต้องไม่แห้งกระด้าง
2.รายละเอียดพิมพ์​
-​การสร้างจากบล็อกหิน4ด้านโดนกดพิมพ์รูปองค์พระด้านหน้าและอักขระขอมด้านหลัง​ ไม่มีการตัดตอก
-​ธรรมชาติของเส้นสายต่างๆ​ขององค์พระที่อ่อนช้อยมีมิตินิ่มตาไม่ดูแข็ง
-​ รายละเอียดของตัวอักษรขอม​ด้านหลังจากการกดพิมพ์
และรอยปลิ้นของขอบทั้ง4ด้าน​ ต้องมีให้เห็น​ ความแข็งของรายละเอียดองค์พระ​ และตัวอักษรขอมด้านหลังจะบ่งชี้ของแท้ปลอมได้ดีถ้าท่านฝึกสังเกตบ่อยๆ
3.มวลสาร
-​เป็นเนื้อแก่ปูนเปลือกหอย
-​วรรณะออกขาว​หรือขาวอมเหลือง, แดง, เขียว
-​มวลสารรองต่างๆคล้ายพระสมเด็จวัดระฆังมีเม็ด​ดำ​ น้ำตาล ก้อนอิฐแดง​ ก้อนพระเก่าที่แตกหัก​ ฯลฯ
ภาพรวมเวลาพิจารณาจะต้องพบความเก่าที่ผิวองค์พระสมอายุ​ รายละเอียดพิมพ์ที่นิ่มตา​ การกดพิมพ์ที่มีร่องรอยการปลิ้นที่ขอบ​ การหดตัวของเนื้อพระ​ ต่างๆมาประกอบกันเสมอ
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระกรุต่างๆ,พระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ท่านสมาชิกกรุณาช่วย”กดติดตาม”และ”กดแชร์” ข้อมูลได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์​ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”