Select Page

เทวรูปสัมฤทธิ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

“พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา” ขอนำรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรโบราณ มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณา โดยมีข้อมูลสำคัญที่ควรทราบในเบื้องต้นดังนี้
– “อวโลกิเตศวร” ตามรูปศัพท์แปลว่า ผู้มองลงเบื้องล่าง ด้วยความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ คุณสมบัติคือ “มหากรุณา” ด้วยทรงปฏิเสธพระนิพพานเพื่อประสงค์จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหมดให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ถือกำเนิดจากธยานิพุทธอมิตาภะ มีหน้าที่ปกป้องดูแลสัตว์โลกในยุคปัจจุบัน
– หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า “อวโลกิเตศวร” นั้นแปลว่า “พระผู้มองลงต่ำ” หรือ “พระผู้มีแสงสว่าง” พระโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิ สัตว์แห่งความเมตตากรุณาและเป็นผู้คุ้ม ครองผู้ที่นับถือพุทธศาสนาในนิกายมหายาน
– พระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรจึงได้รับการนับถืออย่างมากจากพุทธศาสนิกชน นิกายมหายาน
– ทรงมีหลายพระนามเช่น อวโลกิตะ ปัทมปาฯ โลเกศวร โลกนาถ มหากรุณา ฯลฯ ทรงมีชายาชื่อว่า นางตารา
– สัญลักษณ์สำคัญที่ทำให้ทราบว่าเป็นรูปเคารพของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรคือ” รูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิหรือพระอมิตาภะ บนมวยพระเกศาเหนือศิราภรณ์ (เครื่องประดับศีรษะ) “
– ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ (ช่วงเวลา) ปัจจุบัน หรือ”ภัทรกัลป์”
ภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ทางพิพิธภัณฑ์พุทํรักษา ได้นำมาแสดงให้ท่านสมาชิกได้ชม มีข้อมูลเเละรายละเอียดดังนี้
– ศิลปะเป็นแบบขอมโบราณ และไม่ทราบแหล่งที่สร้าง คาดคะเนจากษิลปะและเนื้อโลหะและดินใต้ฐานแล้ว น่าจะมีอายุหลายร้อยหรือกว่า1พันปี
– เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สร้างโดยการหล่อโบราณด้วยสัมฤทธิ์(โลหะผสม) มีดินใต้ฐานที่เก่าและแกร่งจัด
– เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4กรประทับยืนตรง บนฐาน 4เหลี่ยมมีความสูงจากฐาน 1.35เมตร
– รายละเอียดของศิลปะประกอบด้วย มวยเกศาทรงสูงแบบนักบวช โดยที่เบื้องหน้าของมวยพระเกศานั้นจะประดับด้วยรูปพระพุทธเจ้าหรือพระอมิตาภะพุทธเจ้าปางสมาธิ ซึ่งบ่งชี้ผู้สร้างต้องการสื่อถึง”พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” เท่านั้น
– พระกรทั้ง 4นั้น ด้านขวาทรงถือจักรและกริช ส่วนด้านซ้ายทรงถือคัมภีร์และคนโท
– มีพระเนตรเหลือบลงต่ำ มีพระมัสสุ(หนวด) โดยลำพระองค์ด้านบนจะไม่สวมอาภรณ์หรือเครื่องทรง และไม่มีเครื่องประดับใดๆ ( ซึ่งจะแตกต่างจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของสมัยศรีวิชัย ในสมัยศตวรรษที่14 ที่จะมีเครื่องทรงตกแต่ง อาทิ สร้องประคำ กรองศอ พระอังสาหรือไหล่ด้านซ้ายทรงคล้องผ้าเฉวียงบ่า และคล้องทับด้วยสายมงคล )
– ด้านล่างทรงอาภรณ์ (ผ้านุ่ง)แบบ “สมพต” คือผ้านุ่งแบบกางเกงขาสั้น ที่เอวคาดด้วยผ้าคาดเอวที่เป็นแบบเส้นกลมเส้นเดียว
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมของ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”แหล่งรวบรวมข้อมูลและสะสมพระกรุต่างๆ,พระพุทธรูป,พระบูชา,พระเครื่องทุกหมวดหมู่,เครื่องรางของขลังและเครื่องถ้วยโบราณจากแหล่งต่างๆที่หาชมยากและมากที่สุดของเมืองไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ใดๆมาแอบแฝง ท่านสมาชิกกรุณาช่วย”กดติดตาม”และ”กดแชร์” ข้อมูลได้ที่ช่องทาง
-เว็บไซต์​ www.puttharugsa.com
-เฟสบุ๊คเพจ”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”
-ช่องยูทูป” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”