เหรียญรุ่นแรก (เหรียญหลังเต่า)พ.ศ.2510 เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
ขอนำเหรียญยอดนิยมรุ่นแรกของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตธัมมวิตักโก ภิกขุ วัดเทพศิรินทร์ กทม.(ซึ่งคนทั่วไปมักกล่าวนามท่านกันจนคุ้นชินในชื่อย่อว่า”เจ้าคุณนรฯ”)
เหรียญนี้เป็น”เหรียญรุ่นแรก” ของท่านซึ่งสร้างในปีพ.ศ.2510 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบอายุ 70ปีของท่าน (ซึ่งจัดสร้างโดยท่านเจ้าคุณอุดมสารโสภณ วัดเทพศิรินทร์ เพื่อถวายแก่ท่านเจ้าคุณนรฯ เพื่อสำหรับแจกให้ฟรีสำหรับลูกศิษย์ที่มาร่วมในงาน) เป็นเหรียญตัดปั๊มยุคใหม่ โดยมีการเรียกชื่อเหรียญกันทั่วไปว่า”เหรียญหลังเต่า” ตามลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ที่ด้านหน้าของเหรียญที่พื้นเหรียญนั้นจะนูนสูงมากกว่าที่พบในพระเหรียญทั่วไปและาำหรับเหรียญนี้มีการสร้างเพียงบล็อคเดียวและมีเนื้อเดียวเท่านั้นคือเนื้อทองเหลือง ด้านหน้าเป็นรูปท่านเจ้าคุณฯครึ่งตัวส่วนด้านหลังเป็นรูปยันต์
แต่มีบางเหรียญที่พบว่ายันต์ด้านหลังเหรียญนั้นอาจจะมีการเคลื่อนได้จากการปั๊มเพราะว่าเหรียญมีความหนามากกว่าเหรียญปกติทั่วไป ทำให้บางคนได้แบ่งเป็น 2พิมพ์คือยันต์เต็มและยันต์เคลื่อน แต่การเคลื่อนของยันต์นั้นจะต้องเป็นธรรมชาตินะครับและรายละเอียดอื่นๆจะต้องมีครบหมด
หลักการพิจารณาคือ
1.โลหะที่สร้างต้องเป็นเนื้อทองเหลืองเท่านั้นขอให้ท่านพิจารณาภาพของเอกลักษณ์ของเนื้อทองเหลืองจากภาพที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำมาแสดงไว้ให้แม่นยำครับ เพราะของเลียนแบบจะทำได้ไม่เหมือนอย่างแน่นอน
2.รายละเอียดพิมพ์ต่างๆ
2.1จุดเด่นและเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นนี้คือเหรียญจะความโค้งนูนของพื้นเหรียญด้านหน้า ที่เป็นที่มาของชื่อที่เรียกขานกันว่า”หลังเต่า)
2.2 รายละเอียดพิมพ์ด้านหน้า เม็ดตาดำ2ข้างจะต้องกลม,คมชัดมาก เส้นหน้าผากบางๆและ เส้นจีวรต้องดูนิ่มตา เป็นธรรมชาติ ของเลียนแบบจะดูแข็งไม่เป็นธรรรมชาติของการแกะพิมพ์
2.3 มีความคม ชัด ลึก ของยันต์ด้านหลังเหรียญ เนื่องจากเป็นพระปั๊ม ทำปลอมได้ยากของปลอมจะไม่ลึกชัดเท่า
2.4 ขอบข้างเหรียญเป็นแบบตัดปั๊มต้องคมชัด ของปลอมเส้นตัดปั๊มจะเบลอ หรือทำเส้นปลอมให้ดูเหมือนการตัดด้วยเครื่อง
3.อายุโลหะทองเหลืองอายุ 65ปี (พ.ศ.2565-2510)ต้องมีสนิมบางๆที่ผิวหน้าสมอายุไม่ดูวาว ไม่สดใหม่ เวลามองหรือเวลากระทบแสงเวบาที่ถ่ายภาพ จุดความเก่านี้ทำปลอมไม่ได้เป็นจุดบ่งชี้สำคัญครับ
ทางพิพิธภัณฑ์นำภาพเหรียญของจริงมาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษา,พิจารณาและยังได้เปรียบเทียบกับเหรียญที่เลียบแบบต่างๆเพื่อให้เห็นความแตกต่างกันด้วยครับ
ท่านสามารถษึกษาพระเครื่องหมวดอื่นๆได้ที่เว็บไซต์ www.puttharugsa.comและช่องยูทูป”พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา” ครับ