เหรียญรูประฆัง หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค 2แบบพิมพ์
เหรียญรูประฆัง 2พิมพ์ของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ ที่เป็นที่นิยมและหาชมค่อนข้างยากและปัจจุบันได้มีการทำปลอมแปลงขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเกิดความเข้าใจผิดได้ ซึ่งเหรียญทั้ง 2พิมพ์ได้แก่
1.เหรียญระฆังหลังส.ช.สร้างปีพ.ศ.2513
ื-ชื่อรุ่นของเหรียญที่ใช้เรียกกันนั้นสืบเนื่องมาจาก”รูปทรงของเหรียญที่เหมือนกับระฆัง”จึงเรียกว่าเหรียญ”ระฆัง” ส่วนหลังส.ช.นั้นเนื่องมาจากมีอักษรย่อ”ส.ช.”อยู่ที่ด้านหลังของเหรียญซึ่งเป็นชื่อย่อของชื่อและนามสกุลของท่านผู้ที่จัดสร้างคือ พลโทสมุทร ชาตินันท์ วัตถุประสงค์คือการนำไปแจกทหารเสนารักษ์ ที่อาสาสมัครไปในราชการสงครามเวียดนามในขณะนั้น โดยหลวงพ่อพรหมเป็นผู้ปลุกเสก โดยไม่มีการจำหน่ายที่วัด
-เหรียญนี้ขนาดกว้าง2.4ซม.สูง3.3ซม.
-ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพรหมในท่านั่งมารวิชัยอยู่ บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขอบเหรียญโดยรอบมีลวดลายตกแต่งสวยงาม ด้านล่างสุดมีอักษร”หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค”
-ด้านหลังตรงกลางเป็นอักขระขอม 9ตัวคือ” อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ พะ “อยู่ภายในกรอบยันต์ 9ช่อง ด้านบนมียันต์มะ อะ อุ ยันต์องค์พระและตัวอุณาโลม ส่วนด้านล่างมีอักษรขอม 4ตัวคือ”พระ พุ วะ เล” และแถวล่างสุดมีอักษรย่อ”ส.ช.”
-การพิจารณาเหรียญแท้ต้องพิจารณาให้ครบถ้วน
1.อายุความเก่าของโลหะที่สมอายุ 53ปี คือ อัลปาก้านั้นเนื้อจะต้องผิวสนิมอมเหลืองเล็กน้อย ไม่ขาวเเละดูวาวเหมือนสีช้อนส้อมใหม่
2.พิมพ์และวิธีการสร้างต้องถูกต้อง รายละเอียดพิมพ์โดยละเอียดได้นำภาพมาแสดงไว้เรียบร้อยส่วนการสร้างเป็นแบบตัดปั๊มยุคใหม่ จะต้องพิจารณาความเรียบตึงผิวจากการปั๊ม,ไม่บวม,รายละเอียดจะต้องคม,ชัด,ลึก. ขอบข้างเหรียญจะเห็นเส้นตัดชัดเจน หูเหรียญด้านหลังการเจาะหูเหรียญด้านหลังจะต้องปลิ้น,บาง
2.เหรียญแจกทานสร้างปีพ.ศ.2515
-สร้างขึ้นเพื่อหารายได้สร้างศาลาการเปรียญ
-ที่มาของชื่อ”เหรียญแจกทาน”นั้น เนื่องมาจากมีการนำเหรียญที่สร้างขึ้นจำนวน 3,000เหรียญถวายหลวงพ่อพรหม แล้วนำส่วนหนึ่งไปวางไว้บนขันหน้ากุฏิเพื่อแจกให้คนทั่วไปคนละ1เหรียญ จึงเป็นที่มาของชื่อเหรียญส่วนที่เหลือจึงนำไปจำหน่าย
-พิมพ์มีอยู่2พิมพ์คือ”สังฆาฏิสั้น”และ”สังฆาฏิยาว”เนื่องจากเมื่อปั๊มไปแล้วระยะหนึ่งแม่พิมพ์ด้านหน้าเกิดการสึกชำรุด ช่างจึงได้แกะพิมพ์เพิ่มที่ด้านหน้าใหม่ ส่วนพิมพ์ด้านหลังยังเหมือนเดิม
-พิมพ์สังฆาฏิสั้นนั้นปลายด้านล่างจะอยู่ที่หน้าตักพลวงพ่อ แต่พิมพ์สังฆาฏิยาว ปลายด้านล่างจะยาวลงไปถึงใต้ขาของหลวงพ่อ
-โลหะที่ใช้สร้างเป็นเนืัอทองเหลืองชุบทอง,ทองเหลืองรมดำ,ทองแดงรมดำ
-การพิจารณาเหรียญแท้ต้องพิจารณาให้ครบทั้ง
1.อายุความเก่าของโลหะที่มีอายุ 51ปี จะต้องมีคราบสนิมความเก่าที่สมอายุ,คราบทองที่ชุบ,ความเก่าของรมดำจะต้องพิจารณาประกอบเสมอ ถ้าโลหะใหม่,วาวแสดงว่าทำปลอมขึ้นมาภายหลัง
2.รายละเอียดพิมพ์และวิธีการสร้าง
-รายละเอียดพิมพ์ต่างๆนั้นได้มีการนำภาพมาแสดงประกอบให้ชมโดยละเอียดด้านล่าง
-การสร้างเป็นแบบตัดปั๊มยุคใหม่มีหูในตัวให้พิจารณา
1.ความเรียบตึงผิวเหรียญ
2.รายละเอียดพิมพ์ต้องคม,ชัด,ลึก
3.เส้นตัดปั๊มที่ขอบข้างที่ชัดเจน
4.หูเหรียญด้านหลังปลิ้น,บาง
3.โลหะที่ใช้สร้างต้องถูกต้องเสมอ
ท่านสามารถศึกษาพระเครื่อวหมวดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.puttharugsa.comและช่องยูทูป “พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวพุทธรักษา”ครับ