Select Page

ขอนำ”พระกริ่งชินบัญชร รุ่นแรกปีพ.ศ.2517 ของหลวงปู่ทิม” วัดระหารไร่ จ.ระยอง

มาให้ท่านสมาชิกได้พิจารณา เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บสะสม
ทางเพจได้นำมาให้ศึกษาทั้งหมด 19องค์ โดยแบ่งเป็นแบบต่างๆดังนี้
1.ก้นทองคำทั้งหมด 10องค์ โดยแบ่งเป็น
1.1ก้นทองคำพร้อมกล่องกำมะหยี่ สำหรับบุคคลทั่วไปหมายเลข ๖ จำนวน 1องค์
1.2ก้นทองคำสำหรับกรรมการ ที่ตอกโค้ดศาลา จำนวน 3องค์
1.3ก้นทองคำสำหรับกรรมการ ตอกโค้ดศาลาและจารเลข ๙ด้วยมือ จำนวน 3องค์
1.4 ก้นทองคำตอกโค้ดศาลา และตอกโค้ดเลข ๙จำนวน3องค์
2. ก้นเงิน ตอกโค้ดศาลา จำนวน 1องค์
3 ก้นทองแดง ตอกตัวเลขด้านใต้ก้นหรือใต้ฐาน จำนวน 8องค์
ข้อมูลและหลักการในการพิจารณาที่ควรทราบมีดังนี้
– พระกริ่งมีอายุ 46ปี ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องมีอยู่ในใจเสมอคือโลหะที่ใช้สร้างนั้นจะต้องเก่าสมอายุ คราบสนิมเนื้อนวโลหะ ทองแดง, เงินและทองคำ ต้องมีให้เห็นสมอายุพระ
-การสร้างพระกริ่งชินบัญชรนี้ใช้วิธีการสร้างแบบหล่อโบราณคล้ายพระกริ่งของวัดสุทัศน์ฯ คือใช้การหล่อแบบเบ้าประกบ 2ด้าน โดยสร้างแบบแม่พิมพ์มาจากการออกแบบหุ่นขี้ผึ้งก่อน จุดนี้สำคัญมาก เพราะจะเป็นจุดที่ต้องนำไปพิจารณาทุกครั้งเวลาดูองค์พระที่จะต้องเห็นรอยต่อของเบ้าประกบ 2ข้าง เพราะเวลาถอดพิมพ์ออกมาหลังจากที่หล่อเสร็จเรียบร้อย จะต้องเห็นรอยตะเข็บนี้ทุกองค์
– คราบขี้เบ้าและคราบความเก่าของแม่พิมพ์ควรจะมีให้เห็นมากน้อยทุกองค์ อย่างน้อยในบริเวณที่เป็นซอกลึก ถ้าองค์พระสะอาดมาก ควรระวังให้มาก
– ลักษณะผิวองค์พระหลังหล่อเสร็จจะมีลักษณะผิวไม่้เรียบ จะมีรอยหลุมเล็กๆทั่วไปที่เรียกว่า”ผิวมะระ” ทุุกองค์เป็นข้อสังเกต และที่ผิวบางตำแหน่งจะลึกมากจากการแกะแม่พิมพ์และจากแม่พิมพ์ชำรุด ซึ่งจดนี้สามารถนำไปเป็นจุดพิจารณาความแท้ปลอมได้เลย เช่นแอ่งที่หน้าอกด้านขวา 2จุด ดานหลังบนซ้ายองค์พระ หลังใบหูขวาองค์พระเป็นต้น
– วรรณะหรือสีผิวจะออกน้ำตาลเข้มอมเทาหรืออมดำเนื่องจากเนื้อโลหะหลักที่สร้างคือทองแดงมีเงินเล็กน้อยและธรรมชาติของสนิมทองแดงคืิอเทาอมดำ ถ้าจุดที่มีความชื้นมากจะมีสีเขียว
– องค์พระประกอบด้วย 2ส่วนคือ 1.ตัวองค์พระ ต้องทราบว่าพระกริ่งทุกองค์ไม่ว่าเป็นก้นทองคำ, เงินหรือทองแดงก็ตาม โลหะที่ใช้สร้าง วิธีสร้าง และรายละเอียดพิมพ์และจุดตำหนิต่างๆ จะต้องเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งเนื้อและพิมพ์และจุดตำหนิ ทางเพจได้นำรายละเอียดมาแสดงไว้ให้ชมโดยละเอียด
2.แผ่นโลหะที่ปิดใต้ฐานหรือปิดก้นเพื่อบรรจุกริ่ง ซึ่งมีทั้งหมด 3แบบคือทองคำ,เงินและทองแดง ซึ่งทางเพจได้นำองค์พระและก้นโลหะทั้ง 3แบบไปตรวจสอบชนิดโลหะและ%ของโลหะแต่ละชนิดมาให้ชมโดยละเอียดโดยมีรายละเอียดดังนี้
– ตัวองค์พระที่นำมาตรวจสอบ4องค์ทั้งก้นทองคำ 2องค์,ก้นเงิน 1องค์และก้นทองแดง 1องค์ พบว่าทุกองค์มี่ค่าปริมาณโลหะที่ใกล้เคียงกันทั้งหมด โดยเนื้อโลหะผสมหลักๆ 3ชนิดคือ ทองแดง 95%,เงิน 3%,ดีบุก 2%
– ปริมาณโลหะขอลแผ่นที่ปิดใต้ฐานหรือก้น พบปริมาณดังนี้
– ก้นทองคำ 2องค์มีปริมาณทองคำที่88%และ95%
-ก้นเงินมีปริมาณเงิน 99%
-ก้นทองแดงมีปริมาณทองแดง 99%
จะเห็นได้ว่าทางวัดได้ใช้วัสดุที่เป็นโลหะบริสุทธิ์และมีมาตรฐาน โดยมีการชั่งและวัดปริมาณอย่างละเอียดก่อนมีการสร้าง
สำหรับก้นทองคำนั้นถ้าเป็นของทางวัดจัดสร้าง จะมีกล่องกำมะหยี่เพื่อบรรจุและมีตัวเลขตอกกำกับไว้ชัดเจนในการสร้างซึ่งมีจำนวนเพียง 13องค์เท่านั้นและแผ่นทองคำที่ปิดก้นทางวัดได้เป็นผู้จัดหามา แต่ถ้าเป็นก้นทองคำที่สำหรับกรรมการนั้น ทางกรรมการจะเช่าเฉพาะตัวองค์พระ แต่แผ่นทองที่ปิดก้นทางกรรมการแต่ละคนจะต้องเป็นผู้ซื้อมาเอง แล้วนำมาให้ช่างปิดก้นในภายหลัวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก้นทองคำาำหรับกรรมการนี้ จะพบอยู่ 3แบบคือแบบที่1.ตอกโค้ดศาลาใต้ก้นอย่างเดียวไม่มีเลข ๙กำกับ แบบที่2.ตอกโค้ดศาลาและจารเลข๙ด้วยมือ แบบที่3.ตอกโค้ดศาลาและตอกเลข ๙ แทนการจารด้วยมือ
เมื่อท่านสมาชิกทราบข้อมูลต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็เหลือขั้นตอนในการพิจารณาโดยละเอียดที่องค์พระอีกครั้งหนึ่งโดยใช้หลักการเดิมทุกครั้งในการพิจารณาพระแท้ในทุกๆหมวดคือ
1.อายุความเก่าที่ต้องมีสมอายุ46ปี โดยดูจาก
-สนิมขององค์พระ และสนิมโลหะที่ปิดก้นต้องมีสมอายุ
-ความหดตัวและความตึงเรียบผิวมากเมื่อเวลาผ่านไป โลหะต้องไม่บวม
2.วัสดุที่ใช้สร้างตรงตามประวัติหรือไม่ ปัจจุบันสามารถตรวจสอบได้แม่นยำด้วยเครื่ิองมือ เนื่องจากเป็นโลหะมีคุณสมบัติที่เป็นมาตรฐาน ใครจะโต้แย้งไม่ได้
3.รายละเอียดพิมพ์และการสร้าง ซึ่งรายละเอียดรวมถึงตัวโค้ดนั้นต้องมีความคม ชัด ลึกทุกส่วนเพราะช่างฝีมือเป็นผู้ออกแบบดังนั้นศิลปะความงดงามต้องครบถ้วน การสร้างหล่อแบบโบราณเบ้าประกบหรือไม่ ทางเพจได้แนะวิธีพิจารณาไว้เรียบร้อยแล้วพร้อมทั้งรูปภาพประกอบโดยละเอียด
ศึกษาหมวดต่างๆเพิ่มเติมได้ที่ www.puttharugsa.com
ในโอกาสต่อไป ทางเพจจะได้นำ พระเครื่องหมวดของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาครับ ได้แก่
-รูปหล่อพิมพ์นิยม, พิมพ์ขี้ตา,
-รูปหล่อพิมพ์จอบใหญ่, จอบเล็ก(พิมพ์แข้งตรง, แข้งติด, เท้ากระดก)