Select Page

พระพุทธรูปสำริดอินเดียโบราณจำนวน 2องค์

ที่นำมาแสดงให้ชมองค์นี้ เป็นพุทธศิลป์ที่หาชมได้ยากอีกพิมพ์หนึ่งครับ โดยมีรายละเอียดและข้อมูลน้อยมากจากผู้ที่มอบให้มา ทำให้ต้องอาศัยการพิจารณาจากพุทธศิลป์และองค์ประกอบที่มีอยู่ในองค์พระเป็นหลัก ได้แก่ รายละเอียดของศิลปะ ตั้งแต่องค์พระ ฐานที่ประทับ โลหะสำริดที่ใช้หล่อ และดินใต้ฐานมาประกอบกันดังนี้
-ศิลปะโดยรวมของพระพุทธรูปเป็นแบบอินเดียโบราณในท่าประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางแสดงธรรม บนฐานสูง 3ขาที่มียักษ์ 5ตนแบกรับที่ใต้ฐานทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
รายละเอียดของศิลปะที่พบได้แก่
-พระเกศาเป็นเส้นละเอียด มีอุษณีษะขมวดปมเกล้ามวย3ชั้น
-พระพักตร์รงูปทรงยาวรี งดงามแบบอินเดียไม่มีศิลปะกรีกเจือปน
-มีอุณหิสอยู่กึ่งกลางพระนลาฏ(หน้่าผาก)ระหว่างพระขนง(คิ้ว)2ข้าง พระกรรณ(หู)ยาวใหญ่โค้งงดงาม
-ทรงจีวรห่มคลุม เส้นจีวรเป็นแบบในอุดมคติ ไม่ซ้อนทับกับ
-พระหัตถ์(มือ)ทั้ง2ข้างจีบเป็นวงกลมโดยส่วนหนึ่งของนิ้วพระหัตถ์ซ้ายแตะที่พระหัตถ์ข้างขวาเป็นสัญญลักษณ์ของปางแสดงธรรม ซึ่งไม่พบหรือพบน้อยมากในพระพุทธรูปยุคหลังๆโดยเฉพาะในประเทศไทยในอดีต
-ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรมีชายริ้วจีวรเป็นรูปพัดที่ด้านหน้า
-เอกลักษณ์ของฐานที่มียักษ์แบกอยู่ใต้ฐานที่พบในศิลปะอินเดียยุคต้นๆ โดนรายละเอียดของยักษ์และการตกแต่งประกอบฐานองค์พระนั้นเป็นศิลปะอินเดียโบราณที่ไม่พบเห็นในสุวรรณภูมิ
-ดินใต้ฐานที่พบเก่าและแข็งมากและไม่ใช่ดินไทย
-สนิมโลหะและไขจับหนาตัวที่ผิวเป็นธรรมชาติ