Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอนำ พระสมเด็จบางขุนพรหม “พิมพ์สังฆาฏิ” มาให้ท่านสมาชิกได้ชมและศึกษา ปกติพิมพ์สังฆาฏินั้นพิมพ์ที่พบโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3ประเภทพิมพ์ย่อยตามลักษณะโดยรวมของพิมพ์ที่พบได้แก่
1.พิมพ์สังฆาฏิมีหู
2.พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู
3.พิมพ์สังฆาฏิที่มีพิมพ์ผสมกับพิมพ์อื่นๆ เช่นเกศบัวตูม ที่เรียกกันว่า “ฏิ-ตูม” เป็นต้น
ในครั้งนี้ทางเพจขอนำเฉพาะพิมพ์ “สังฆาฏิมีหู” ที่มีลักษณะของสภาพผิวภายนอกที่มีความแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นความแตกต่างที่เกิดจาก
1 การรักษาเนื้อพระพิมพ์ไว้โดยการลงชาด, ลงรัก
2.การถูกบรรจุลงกรุและไม่ถูกบรรจุลงกรุ
3.ตำแหน่งองค์พระที่บรรจุในกรุว่าอยู่ส่วนบน,กลางหรือล่าง จากการวางซ้อนทับกัน
4.เกิดจากการนำองค์พระมาล้างหรือไม่ล้างในภายหลัง
จากสาเหตุทั้ง 4ประการนี้ทำให้เราพบเห็นสภาพภายนอกของพระบางขุนพรหมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้นบางท่านที่ใช้เนื้อหาในการพิจารณาเพียงอย่าง​เดียวจากสภาพที่เห็นภายนอกด้วยตาเปล่าจะทำให้ข้อผิดพลาดได้ ดังนั้นทางเพจจึงได้นำความหลากหลายของผิวภายนอกมาให้ชมให้ศึกษาไว้เพื่อเป็นข้อมูลเวลาที่ท่านมีโอกาสไปใด้พบเจอจะได้ไม่พลาดโอกาส
หลักและวิธีพิจารณาเบื้องต้น 3ประการหลักๆคือ
1.พิมพ์ เนื่องจากช่างได้แกะแม่พิมพ์ไว้หลากหลายพิมพ์ย่อยการพิจารณาพิมพ์จึงไม่ตายตัวในจุดละเอียดปลีกย่อย แต่ให้พิจารณาจุดหลักๆที่พบเห็นได้คือ
– “เส้นซุ้ม” จะเป็นลักษณะพิเศษของพิมพ์สังฆาฏิที่ต่างจากพิมพ์อื่นคือ เส้นจะมีความคมชัด นูนสูง แต่ไม่กว้างหนา จุดที่โค้งนูนชัดที่สุดคือเหนือเศียรมาทางขวามือองค์พระเล็กน้อย เส้นครอบแก้วนั้นมีทั้งตรงและโย้เอียงข้างใดข้างหนึ่งไม่เฉพาะเจาะจง
– “พระเกศ​”มีทั้งแบบทะลุซุ้ม, ชนซุ้มและไม่ชนซุ้ม
– พระกรรณ(หู)​ที่พบจะมี 2แบบคือหูขนาดเล็ก-ใบหูยาวรีและหูขนาดใหญ่-ใบหูสั้น
– ลำพระองค์(ลำตัว)​จะเป็นแบบอกตลอดแบบตรงและโค้ง
– “วงพระกร(วงแขน)” มี 3รูปแบบคือ วางแขนตรงข้างหนึ่ง แขนโค้งข้างหนึ่ง, วางแขนโค้งมนธรรมดาข้างหนึ่ง โค้งมนแบบหักศอกข้างหนึ่งและแบบสุดท้ายคือการวางแขนโค้งมนทั้ง2ข้าง
-“พระเพลา(ตัก)​”มีขนาดใหญ่, กลางและบาง มีทั้งวาดตรงและโค้ง
-“ฐาน” มีทั้งฐานใหญ่และฐานเส้น
จากแบบพิมพ์ที่หลากหลายนี้ทำให้การพิจารณาพิมพ์เฉพาะจุดอย่างเดียวไม่ได้ ให้ท่านพิจารณาว่าพิมพ์ต้องมีความนิ่มตา, มีความสมส่วนงดงามหรือไม่ ร่วมกับการพิจารณาความเก่าเเละเนื้อหามวลสารประกอบร่วมไปด้วยเสมอ
2.”มวลสาร” พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระเนื้ิอแก่ปูนเปลือกหอย ส่วนใหญ่จะพบมวลสารค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับสมเด็จวัดระฆัง ลักษณะของเนื้อพระจะเป็นแบบ”หนึกแกร่ง” ต่างจากของวัดระฆังที่เป็นแบบ”หนึกนุ่ม” สำหรับพิมพ์สังฆาฏิที่นำมาให้ชม พบว่าจะมีบางองค์ที่พระไม่ได้บรรจุกรุทำให้ลักษณะภายนอกจะดูหนึกนุ่มและเห็นมวลสารที่ผิวคล้ายกับวัดระฆังมาก
– นอกจากมวลสารแล้ว”คราบกรุ” ในสมเด็จบางขุนพรหมยังเป็นตัวบ่งชี้ความแท้ปลอมได้ดีมากเพราะของปลอมจะทำได้ไม่เหมือนแน่นอน ถ้าท่านเคยเห็นและจดจำของแท้ได้ดีแล้วท่านจะสามารถแยกความแตกต่างได้ง่ายขึ้น คราบกรุที่พยเจอนั้นจะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่บบรจุ แบ่งตามลำดับชั้นคร่าวๆได้ 5ชั้น เช่นคราบกรุสีน้ำตาลบางๆที่อยู่ชั้นบนสุด, คราบกรุสีนำ้ตาลเข้มหนา, คราบกรุแบบฟองเต้าหู้, หนังปลากระเบน, คราบน้ำปูนหนาๆฟูๆ, คราบกรุชั้นล่างสุดที่มีปูนขาวที่โรยไว้ที่พื้นเจดีย์ก่อนวางพระสมเด็จและดินที่พื้นเจดีย์ชั้นล่างสุดเวลาน้ำท่วมจะละลายผสมกันเกาะติดแน่น, แข็งและหนาที่องค์พระ
3.”ความเก่า” สมเด็จบางขุนพรหมมีอายุมากกว่า 150ปี การพิจารณาความเก่าจึงมีส่วนสำคัญมากในการบ่งชี้ถึงความแท้หรือปลอม การพิจารณาความเก่านั้นโดยการดู
– ความแห้ง, หดตัวของเนื้อปูนต้องสมอายุ, ไม่บวม
-รอยปริแยกต้องมีให้พบเห็นตามสภาพ มากน้อยที่ขอบข้าง
-เนื่องจากเนื้อพระพิมพ์แก่ปูนเปลือกหอยและมีอินทรีย์สารน้อยรอยปูไต่, รูพรุนปลายเข็ม, หลุมบ่อต่างๆอาจจะไม่ชัดเจนเท่าของวัดระฆังแต่จะพบได้บ้าง
-ความเก่าของคราบกรุต้องเป็นธรรมชาติทั้งความเก่า, แห้ง องค์ที่ลงรัก, ชาดที่สร้างในตอนแรก(มีบางองค์)​จะต้องเก่าสมอายุ
ท่านสมาชิกสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๅเพิ่มเติมได้ที่ www.puttharugsa.com ครับ