Select Page

พระสมเด็จวัดระฆัง

ขอนำพระสมเด็จวัดระฆังที่ฝากบรรจุกรุของวัดบางขุนพรหม หรือที่คนทั่วๆไปในวงการพระเครื่องเรียกกันว่า”พระสมเด็จ 2คลอง” ซึ่งที่มาของชื่อนั้นหมายถึงพระสมเด็จที่เป็นพิมพ์ของวัดระฆัง ที่ตั้งอยู่ที่คลองฝั่งธนบุรีและนำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมซึ่งตั้งอยู่ที่คลองฝั่งพระนคร ซึ่งต้นตระกูลธนะโกเศศ ได้เป็นผู้จัดสร้างไว้จำนวน 84,000องค์ให้ครบจำนวนพระธรรมขันธ์ตามความเชื่อในการสร้างพระพิมพ์ในสมัยก่อน โดยได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต มาเป็นประธานในพิธีบรรจุลงกรุในมหาเจดีย์ เมื่อปีพ.ศ.2413 ซึ่งในปีนี้ถือว่าครบวาระ 150ปีพอดี
การสร้างพระสมเด็จ 2คลองนี้แบ่งเป็น 2ประเภทคือ
1.เป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่องค์สมเด็จโตได้เคยสร้างไว้แล้วในอดีต ก่อนที่จะนำมาบรรจุลงกรุที่วัดบางขุนพรหมเพื่อให้ครบจำนวนที่ต้องการ ซึ่งมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวน84000 องค์ที่บรรจุกรุ
2.เป็นพระสมเด็จที่ใช้แบบแม่พิมพ์เดิมของวัดระฆังมาเป็นแม่พิมพ์ที่ใช้ในการสร้างและใช้มวลสารเหมือนกับของวัดบางขุนพรหมในขณะนั้น แล้วจึงนำบรรจุลงกรุ
เอกลักษณ์และลักษณะของพระสมเด็จ 2คลองที่พบเห็นจะเป็นพิมพ์ที่สมบูรณ์งดงามและมีมวลสารในรูปแบบของวัดระฆังครบถ้วนและอีกแบบที่มีพิมพ์วัดระฆังสมบูรณ์แต่มวลสารจะไม่มาก แต่จะคล้ายเนื้อและมวลสารของกรุบางขุนพรหม แต่ทั้ง 2แบบจะมีคราบกรุของบางขุนพรหมที่ผิวพระให้พบเห็นมากน้อยในทุกองค์
ขอให้ท่านสมาชิกพิจารณารายละเอียดต่างๆ
1.รายละเอียดพิมพ์ต่างๆต้องถูกต้อง นิ่มตาไม่ดูแข็ง
2.ความเก่าของเนื้อพระสมอายุ 150ปี การยุบย่น การบิดตัว การหดตัวของเนื้อพระ รอยปริแยก รูพรุนต่างๆ
3.มวลสารต่างๆในองค์พระครบถ้วนและมีลักษณะของคราบกรุบางขุนพรหมถูกต้อง ได้แก่ ฟองเต้าหู้ หนังปลากระเบน น้ำปูนขาว คราบสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมจากโลหะด้านในกรุ แต่ละองค์จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่ถูกจัดวาง และชั้นที่ถูกจัดวางซ้อนกันทำให้ลักษณะคราบกรุมีความแตกต่างกันไป
วันนี้ผมนำมาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาทั้งหมด 4องค์ได้แก่
-พิมพ์ใหญ่ 1องค์
-พิมพ์ปรกโพธิ์ 2องค์(โพธิ์ 7ใบ,โพธิ์ 8ใบ)
-พิมพ์เกศไชยโย 7ชั้น 1องค์