Select Page

ขอนำวัตถุมงคลของ”หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน” จ.พิจิตร

ของที่เป็นที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งของผู้ที่สนใจพระเครื่องของเมืองไทยตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัตถุมงคลของท่านที่นิยมสูงสุดตลอดกาลที่จะนำมาให้สมาชิกได้ศึกษามีอยู่ 4ชนิดคือ
1.รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา(2องค์)
-พิมพ์3ชาย(1องค์)
-พิมพ์4ชาย(1องค์)
2.รูปหล่อพิมพ์นิยม(8องค์)
3.เหรียญหล่อจอบใหญ่(2องค์)
4.เหรียญหล่อจอบเล็ก แบ่งเป็น
-พิมพ์แข้งตรง(1องค์)
-พิมพ์แข้งติด(1องค์)
-พิมพ์เท้ากระดก(1องค์)
ซึ่งในวันนี้ทางเพจจะนำมาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาครบทุกพิมพ์ จำนวนทั้งหมด 15องค์ ซึ่งบางตำราบางพิมพ์อาจจะมีการแยกย่อยลงไปบ้างแต่จะไม่ขอลงในรายละเอียด
หลักการพิจารณาโดยรวมของทั้ง4แบบนั้นจะคล้ายๆกัน คือ
1.ใช้โลหะผสมในการสร้างหลายชนิดมีทองเหลืองเป็นหลัก, ทองคำ, เงิน, ทองแดง ดังนั้นเนื้อโลหะขององค์พระจะไม่เป็นเนื้อเดียวกันตลอด เวลาขยายดูที่ผิวด้วยกล้องขยาย และจากการศึกษาที่ผ่านมานั้นจะพบเห็นเกล็ดกระดี่ทองคำที่คำแทบทุกองค์มากบ้างน้อยบ้างและบางองค์จะเป็นเนื้อแก่ทองคำจากหรือจะเรียกว่าเนื้อทองคำก็น่าจะได้ซึ่งทางเพจได้นำมาใช้ศึกษา1องค์
2.วิธีการสร้างทั้ง 4แบบใช้วิธีการหล่อทั้งหมด ซึ่งด่อนจะเป็นแบบแม่พิมพ์นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการปั้นหุ่นขี้ผึ้งหรือหุ่นเทียนก่อนแล้วจึงทำแบบแม่พิมพ์ขึ้นมาสำหรับหล่อ ดังนั้นจากข้อมูลจุดนี้ทำให้เวลาที่เราพิจารณาองค์พระที่หล่อเสร็จแล้วจะต้องชัดเจน ลึกและะสมบูรณ์ทุกองค์เป็นข้อมูลไว้เสมอทุกครั้ง ซึ่งการหล่อมี 2แบบคือ
2.1หล่อแบบโบราณเบ้าประกบซึ่งมีอยู่แบบเดียวคือ”รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา”ดังนั้น ทุกๆองค์จะต้องมีรอยต่อตะเข็บด้านข้างของเบ้าประกบให้เห็นทุกองค์และถึงแม้ว่าพิทพ์ขี้ตาจะงดงามไม่เท่าพิมพ์นิยมและรายละเอียดพิมพ์จะต้องลึก ชัดเจนเสมไม่ใช่เบลอๆตื้นๆแบบของปลอมที่เล่นหากัน โปรดจดจำให้แม่นยำเวลาที่พิจารณาทุกครั้ง
2.2แบบหล่อช่อจะพบใน”รูปหล่อพิมพ์นิยม”,”เหรียญหล่อจอบใหญ่”และ”เหรียญหล่อจอบเล็ก” ดังนั้นเวลาที่พิจารณาด้านข้างองค์พระจะไม่มีรอยตะเข็บด้านข้างให้เห็นเหมือนพิมพ์ขี้ตาแต่จะต้องมีรอยตัดช่อและแต่งตะไบใต้ฐานทุกองค์ บางองค์ในพระเลียนแบบจะทำรอยเหมือนตัดช่อแต่ไม่มีรอยตะไบแสดงว่าหล่อมาพร้อมองค์หลอกว่าทำตัดช่อ ถือว่าผิดธรรมชาติ และในเหรียญหล่อจอบใหญ่และจอบเล็กก็จะต้องมีรอยตัดช่อและรอยตะไบที่ใต้ฐานเหรียญเสมอเช่นเดียวกันต้องพลิกดูใต้ฐานทุกครั้ง
3.รายละเอียดพิมพ์ของแต่ละแบบทั้ง4นั้น เบื้องต้นจะต้องพิจารณาในภาพรวมทั้งองค์ก่อนดังนี้
-ความลึก ชัดเจน ในรายละเอียดจะต้องมีทั้ง4แบบเพราะว่าพระออกแบบแม่พิมพ์จากหุ่นที่ปั้น จะต้องลึกชัดในรายละเอียด แต่ของปลอมจะตื้นเบลอกว่าชัดเจน จุดนี้คนทั่วไปจะไม่สังเกต(ซึ่งทางเพจได้นำภาพมาเปรียบเทียบให้ชม)
-ลักษณะ รายละเอียดทางกายวิภาคขององค์พระเช่นเศียรบาตร, จมูกชมพู่, ปากเผยอเป็นต้น นอกจากนั้นให้ดูที่ฐานและจีวรที่เป็นเอกลักษณ์ ที่เลียนแบบไม่เหมือนถ้าท่านได้เห็นของจริงมาก่อน
-มีคราบขี้เบ้าให้พบเห็น เนื่องจากทั้ง4แบบเป็นการหล่อจากแม่พิมพ์ ซึ่งในแม่พิมพ์จะมีขี้เบ้าอยู่และจะติดมากับองค์พระโดยเฉพาะในซอกลึกๆ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดี
-การหล่อนั้นบางองค์จะหล่อได้สมบูรณ์มาก บางองค์อาจจะมีหลุมที่เกิดจากฟองอากาศในแม่พิมพ์ หรือมีเนื้อเกินกลมที่เรียกลูกบอลบ้าง เสร็จแล้จะมีการแต่งตะไบเนื้อเกินให้พบเห็น ซึ่งรอยตะไบจะต้องเก่าตามอายุพระด้วย
-ขอเพิ่มเติมในเหรียญหล่อ”จอบใหญ่” และ”จอบเล็ก” ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมนอกจากองค์แล้วก็คือหูเหรียญด้านหลังที่เราเรียกกันติดปากว่า”ตัวปลิง” นั้นเป็นจุดสำคัญที่ใช้พิจารณาความแท้ปลอมได้เลย หลายท่านยังไม่ทราบว่า”ตัวปลิง” นี้เกิดจากอะไร จึงขออธิบายสั้นๆดังนี้ครับ เพราะเหรียญหล่อแบบนี้จะต้องใช้แบบแม่พิมพ์2อันมาประกบกันคือแม่พิมพ์ตัวเหรียญ1อันและแม่พิมพ์หูเหรียญอีก1อันมาประกบกันแล้วจึงเทโลหะเหลวที่เตรียมไว้ลงในแม่พิมพ์ทั้ง2 (เหรียญหล่อโบราณนี้ทุกแบบของเกจิอื่นๆก็สร้างวิธีเดียวกัน)ดังนั้นรอยต่อของแม่พิมพ์ทั้ง2จะปรากฏให้เห็นที่โคนหูเหรียญด้านหลังเมื่อโลหะเย็นลงจึงเห็นรอยต่อเป็นรูป”ตัวปลิง” ที่เราคุ้นตากันอยู่นั่นเอง
4.ความเก่าต้องสมอายุ เนื่องจากอายุการสร้างที่มากกว่า 100ปีล่วงมาแล้ว ดังนั้นธรรมชาติของโลหะผสมจะต้องเกิดสนิมของโละหะที่ผิวให้พบเห็นไม่มากก็น้อย และต้องทราบวิธีดูสนิมเก่าธรรมชาติกับสนิมที่ทำขึ้นจะทำเป็นคราบดำๆขึ้นมา ซึ่งจะต่างกันทั้งความใหม่ของคราบ, สีและความความหนา
-ความเก่าสามารถดูได้จากการหดตัวของโลหะเกิดการตึงผิว ยุบย่นให้พบเห็น ผิวต้องไม่บวม
สรุปคร่าวๆคือขอให้ท่านสมาชิกได้พิจารณาพิมพ์ที่ต้องลึก ชัดไม่เบลอ มีเอกลักษณ์ของพิมพ์ในแต่ละแบบที่ได้นำมาให้ศึกษา, ความเก่าต้องสมอายุและโลหะผสมที่สร้างต้องถูกต้อง เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ให้ครบถ้วนทุกครั้ง