Select Page

แนวทางการศึกษาพระสมเด็จวัดพระแก้ว(วังหน้า)​และพระสมเด็จกรุพระธาตุพนม (จำลอง)​
-พระสมเด็จกรุพระธาตุพนม(จำลอง)​
จะมีการสร้างไว้3แบบ
    1. พระสมเด็จเนื้อผงประดับลูกปัดและอัญญมณี
    2. พระสมเด็จด้านหลังจารึกแผ่นทอง
    3. พระสมเด็จเนื้อหยก
เนื่องจากมีการพบ​”พระสมเด็จเนื้อหยกสีแดง​ สีเขียว​ ที่มีแผ่นทองคำปั๊มนูนเป็นตัวอักษร​ 3บรรทัดปิดอยู่ที่ฐานว่า​ บรรทัดแรก-​ขรัวโต​ บรรทัดที่2-​พระธาตุและ​บรรทัดที่3-๒๔๐๑ ด้านหลังเรียบลักษณะเป็นพิมพ์คล้ายพิมพ์ใหญ่ของพระสมเด็จวัดระฆัง​ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต​ พรหมรังสี ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นมีการเรียกชื่อพระสมเด็จองค์นี้ว่า” พระสมเด็จเนื้อหยกกรุพระธาตุพนม” หรือ” พระสมเด็จเนื้อหยกกรุวัดพระแก้ววังหน้า” จากชื่อที่เรียกและลักษณะขององค์พระสมเด็จดังกล่าว​ สำหรับพระเนื้อหยกนั้นจะขอกล่าวเฉพาะพิมพ์ที่คล้ายพิมพ์ใหญ่ของวัดระฆังเท่านั้น

เพื่อหาข้อมูลมาพิสูจน์ว่าพิมพ์ดังกล่าวมีการสร้างขึ้นจริงหรือไม่นั้น​ เบื้องต้นควรจะต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อหาข้อมูลมาประกอบการพิจารณา​เพื่อต้องการให้ทราบโดยแน่ชัดว่า
   1.ชื่อพระธาตุซึ่งหมายถึงพระธาตุพนมจำลองมีอยู่จริงที่วัดพระแก้ววังหน้าในสมัยพ.ศ.2401หรือไม่
   2.วัสดุที่สร้างทำจากหยกธรรมชาติ​และ แผ่นทองคำจริงหรือไม่
   3.ประวัติการสร้างที่สนับสนุนและรายละเอียดขององค์พระเป็นพิมพ์ของวัดระฆังสมัยเจ้าประคุณสมเด็จโตหรือไม่
  4.ความเก่าขององค์พระสมที่ทำจากหยกธรรมชาติมีๆอายุกว่า150ปีหรือไม่
1. เริ่มจากสถานที่คือ”วัดพระแก้ววังหน้า​” จากการค้นคว้าหาข้อมูลพบว่า”วัดพระแก้ววังหน้า” มีการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่3​ ซึ่งก็คือ”วัดบวรสถานมงคล” ​เป็นวัดที่สร้างขึ้นไว้ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า(ซึ่งเหมือนกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้วมรกต)​ที่สร้างไว้ในพระบรมมหาราชวังในปัจจุบันนี้ ซึ่ง”วัดพระแก้ววังหน้า” ในสมัยนั้นไม่ใช่วัดพระแก้วมรกตในปัจจุบันนี้ตามที่หลายท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่​)​เป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่​ แต่สร้างไว้เพื่อให้เจ้ากรมพระบวรสถานมงคลทุกพระองค์​ประกอบพิธีทางศาสนา ที่ตั้งของวังหน้าก็คือกรมศิลปากรและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในปัจจุบัน​นี้ ส่วนวัดพระแก้ววังหน้าคือวัดบวรสถานสุทธาวาสอยู่ถัดจากโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน​ ตำแหน่งวังหน้าในสมัยอยุธยาจนมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่​ 4นั้นถือว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญ เปรียบเสมือนเป็นพระมหาอุปราชและในปีพ.ศ.2401ได้มีการสร้างพระธาตุพนม(จำลอง)​โดยถ่ายแบบมาจากองค์จริงเสร็จเรียบร้อยโดยตั้งอยู่บริเวณที่ด้านหน้าของวัดพระแก้ววังหน้า​ ​ซึ่งเป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีการสร้างขึ้นจริงจากภาพประกอบในหนังสือ”นำชมกรุงรัตนโกสินทร์”ซึ่งเป็นหนังสือและสมุดภาพที่ได้รวบรวมเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี​ ประติมากรรม​ สถาปัตยกรรมและแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์​ ซึ่งจัดพิมพ์ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปี​ พ.ศ.2525​

 จากหลักฐานข้อมูลต่างๆข้างต้นทำให้มั่นใจได้ว่าคำว่า”พระธาตุ” ที่ระบุไว้ในองค์พระสมเด็จเนื้อหยกนั้นหมายถึงพระธาตุพนมจำลองที่สร้างขึ้นในวัดพระแก้ววังหน้าในสมัยรัชกาลที่4ในปีพ.ศ.2401นั้นมีอยู่จริง

2.​ วิธีการตรวจสอบวัสดุ(หยก)​ที่ใช้สร้างพระสมเด็จกรุพระธาตุพนม(จำลอง)​
การพิสูจน์หรือตรวจสอบว่าหยกที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้นเป็นหยกจากธรรมชาติหรือเกิดจากวัสดุจากมนุษย์ทำขึ้น​ เพราะโดยหลักการและวิธีการสร้างพระสมเด็จในยุคสมัยนั้นโดยเฉพาะการสร้างเพื่อบรรจุไว้ในสถานที่สำคัญและผู้สร้างไม่ใช่บุคคลธรรมดาสามัญด้วยแล้ว​ วัสดุที่นำมาสร้างพระจะต้องคัดสรรนำเ​อาวัสดุที่มีค่าและที่ดีที่สุดที่หาได้​ ดังนั้นหยกที่นำมาสร้างจะต้องเป็นหยกแท้และคุณภาพดี​ วิธีตรวจสอบที่นำมาใช้คือ
1.วิธีที่แน่นอนที่สุดคือการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการช่วยตรวจสอบ​
2.แต่ถ้าเราไม่สามารถนำไปตรวจสอบ​ในห้องปฏิบัติการได้ในทันทีเพราะบางครั้งได้พบโดยไม่ได้ตั้งใจ​ ก็มีวิธีตรวจสอบแบบง่ายๆคือ​
-​นำมาสัมผัสที่ผิวหนังของเราธรรมชาติของหยกจะมีความเย็นที่รู้สึกได้แต่ถ้าเป็นแก้ว, พลาสติกหรือเรซินจะไม่รู้สึกถึงความเย็น
-​ โดยการใช้แสงไฟสว่างมากๆส่องที่แผ่นหยกโดยให้ต้นกำเนิดแสงอยู่ทิศตรงข้ามกับตาของเรา​ เมื่อมองที่เนื้อในแผ่นหยกจะต้องเห็นเส้นใยเป็นธรรมชาติไม่ใสเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งแผ่นเหมือนแก้ว​พลาสติกหรือเรซิน

รูปที่ 4 ในเนื้อหยกแท้จากภาพด้านบนเมื่อใช้ไฟส่องจะเห็นเส้นใยในเนื้อเป็นธรรมชาติ
รูปที่ 5 และ 6 ภาพด้านบนพระเนื้อหยกแท้จะเห็นเส้นใยในเนื้อชัดเจนเป็นธรรมชาติทั้งหยกเขียวและหยกแดง
– ​พิจารณาที่ผิวองค์พระ​ ปกติถ้าเป็นคุณ​เนื้อหยกแท้จะเห็นร่องรอยเส้นต่างๆที่ผิวจากการเจียรไนตัดกับเส้นใยในเนื้อหยกเกิดเป็นเส้นหรือตาข่ายเล็กๆเป็นรอยด้านๆที่ผิวเสมอถ้าเป็นแก้ว, พลาสติกหรือเรซินจะเรียบใสไม่มีร่องรอยของเส้นหรือตาข่ายให้พบเห็น​

3.​ ประวัติการสร้างพระกรุพระธาตุพนมจำลองนั้นเกิดขึ้นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่​ 4​ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต​ พรหมรังสี​ เป็นผู้จัดสร้างขึ้นเพื่อนำพระต่างๆมาบรรจุลงในเจดีย์ที่จัดสร้างขึ้นคล้ายกับพระธาตุพนมองค์จริงที่จังหวัด​ นครพนม​ โดยพระธาตุพนมจำลองนั้นตั้งอยู่ที่วัดพระแก้ววังหน้าในสมัยนั้น​ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติด้านข้างท้องสนามหลวง
-พระสมเด็จวัดพระแก้ว(วังหน้า)​
1.เนื้อพระหลากหลายเช่นเนื้อผง,เนื้อปูน,เนื้อหิน
2.มีฐานหลากหลายทั้งฐานเดี่ยวและฐานคู่
3.ซุ้มพระมีหลากหลายส่วนมากเป็นเส้นขนมจีน
4.องค์พระอกใหญ่เอวเล็กหรือเอวลอย
5.ผิวพระมีปิดทองร่องชาดหรือแตกลาย
6.มีร่องรอยการแตกที่ผิวเป็นธรรมชาติ
7.เนื้อพระเป็นผงปูนโปสเลน(ปอร์ตแลน)หรือปูนอื่นๆ
พิมพ์ต่างๆที่พบได้ในพระสมเด็จวังหน้าเช่น
-พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ลงรักลงชาดปิดทองเนื้อปูนโปสเลน

-พิมพ์หลวงปู่โลกอุดร​ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญสร้างให้หลวงปู่โลกอุดร​ มีมวลสารมากมายและหลากพิมพ์ทั้งพิมพ์นั่งเเละพิมพ์ยืน
-พิมพ์จตุคามรามเทพ​ กรมพระวังบวรวิชัยชาญ​ เจ้าพระยาสุภานุวงศ์​ มหาโกษาธิบดี​ เจ้าคุณกรมท่า​ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต​ ร่วมสร้างถวายรัชกาลที่ 5 ตอนขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2411 มีการสร้างหลายสิบพิมพ์
-พิมพ์พระสีประจำวัน​ สีไตรรงค์​ เบญจรงค์​ สัตตรงค์​ นพรงค์หรือนวรงค์​ ผู้ที่ร่วมสร้างเช่นเดียวกันกับที่สร้างจตุคามรามเทพเพื่อเสริมสร้างพระบารมีถวายรัชการที่5​ ขณะขึ้นครองราชย์​ โดยท่านเจ้าคุณกรมท่าได้นำผงหินปูนสีสำเร็จรูปมาจากมณฑลอันฮุย​ ประเทศจีนถึง​ 9​ สี​ คือ​ แดง​ เหลือง​ ชมพู​ เขียว​ ส้ม​ ฟ้า​ ม่วง​ ดำ​ ขาว​ มาทำเป็นพระประจำวัน​ 7​ สี​ พระไตรรงค์​ 3​ สี​ พระเบญจรงค์​ 5สี(ขาว​ ดำ​ เหลือง​ แดง​ เขียว)​ สีประจำธาตุคือดิน​ น้ำ​ ลม​ ไฟ​ และไม้​ พระสัตตศิริหรือสัตตรงค์​ 7​ สี​ พระนวรงค์หรือนพรงค์​ 9​ สีทีเซียนเรียกว่าพระสีรุ้งหรือพระลิเก

-พระสมเด็จประดับอัญมณี​ เป็นเพชรพลอยหรืออัญมณีต่างๆ​ ฝีมือช่างสิบหมู่​ การพิจารณาพระสมเด็จประดับอัญมณีนี้​ คือการพิจารณาอัญมณีว่าแท้หรือปลอมร่วมกับพิจารณาเนื้อพระสมเด็จควบคู่กันไปด้วย​ ถ้าอัญมณีปลอมก็ไม่ต้องพิจารณาเนื้อพระอีกต่อไป

    พระสมเด็จประดับเพชรพลอยนี้ ก็มีการสร้างหลังจากสมเด็จโต​ ได้สิ้นไปแล้วก็มีคือสร้างโดย​ ราชสกุล​ นวรัตน์-วรรัตน์​ ณ​ อยุธยา​ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระปิ่นเกล้า​ ได้สร้างเพื่อถวายรัชกาลที่​ 5​ ตอนทรงครองราชย์ครบ​ 25 ปี​ ตอนฉลองอนุสาวรีย์ทรงม้า​ก็มีซึ่งไม่ทันสมเด็จโต​ “ให้สังเกตง่ายๆคือ​ ที่พระพักตร์ของรัชกาลที่​ 5​ จะมีพระมัสสุ(หนวด)​ยาว​ แต่ถ้าทันยุคสมเด็จโตจะไม่มีพระมัสสุยาว (หนวด)​

    รูปที่ 10​, 10.1,10.2 เป็นภาพตัวอย่างพระสมเด็จวัดพระแก้ว(วังหน้า)​ที่เป็นพระสมเด็จที่ผสมผงหินปูนสีสำเร็จทั้ง9สีที่นำมาจากมณฑลอันฮุย​ ประเทศจีน​ ที่เซียนบางท่านเรียกว่า”พระสีรุ้ง” หรือ”พระลิเก” และบอกว่าเป็นพระเก๊ไม่ได้มีการสร้างจริง​ แต่จากการพิจารณาพิมพ์​ มวลสารและความเก่าแล้วกลับตรงกันข้ามเพราะเขาเหล่านั้นไม่เคยพบเห็นของจริงนั่นเอง การพิจารณาพระแท้นั้นเริ่มตั้งแต่พิมพ์​ มวลสาร​ และความเก่าที่ต้องมีครบถ้วน​ จากภาพจะเห็นธรรมชาติความเก่าขององค์พระจากรูพรุนปลายเข็มหรือรอยปูไต่ที่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์สาร​ ความหนึกนุ่มของเนื้อพระต้องมี​ ความเก่าของผงหินสีที่ผสมต้องเก่าสมอายุส่วนพระปลอมที่เห็นกันทั่วไปจะมีความใหม่​ การผสมผสานของสีไม่เป็นธรรมชาติ

    รูปที่11 เป็นภาพพระสีต่างต่างๆ 9 สี​ แต่ละองค์จะเป็นสีเดียวทั้งองค์และสีที่ผสมเป็นผงหินปูนสีสำเร็จที่สมเด็จกรมเจ้าท่าได้นำมาจากประเทศประจีนได้แก่สีขาว​ แดง​ ดำ​ เหลือง​ เขียว​ ฟ้า​ ชมพู​ ส้ม​ และแดง​ แต่ละองค์นั้นมีรายละเอียดพิมพ์​ และความเก่าสมอายุตามหลักฐานการสร้างกว่า160ปี​ ท่านผู้อ่านสามารถชมภาพรายละเอียดของแต่ละองค์ได้ในหมวดรูปภาพพระสมเด็จวัดระฆัง

    รูปภาพที่ 12 เป็นภาพพระสมเด็จวังหน้าที่บรรจุพระธาตุสีต่างๆไว้ทั้งที่เป็นพิมพ์ใหญ่และพิมพ์ขาโต๊ะ3ชั้น​ จากการขยายภาพด้วยกล้องขนาด​ ×40 จะพบว่าพระธาตุต่างนั้นมีการแบ่งตัวให้พบเห็นอย่างน่าอัศจรรย์มาก

    ภาพที่ 13, 14, 15, 16และ17 เป็นภาพขยายให้เห็นการแบ่งตัวของเม็ดพระธาตุที่บรรจุอยู่ในพระสมเด็จวัดพระแก้ว(วังหน้า)​ที่เป็นของแท้​ ส่วนของปลอมนั้นจะนำเม็ดพลาสติกหรือแก้วสีมาใส่ไว้จะไม่พบเห็นการแบ่งตัวของเม็ดพระธาตุ​ รวมถึงความเก่าสมอายุและพิมพ์​ ท่านสามารถชมภาพรายละเอียดของแต่ละองค์ได้ในหัวข้อหมวดรูปภาพพระสมเด็จวัดระฆัง