Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

วันนี้ผมขออนุญาตนำพระพิมพ์เนื้อดินเผากรุนาดูน​ ที่มีลักษณะรูปแบบพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งบนบัลลังก์​ ซึ่งปกติแล้วจะพบอยู่3แบบด้วยกัน​ ต่างกันที่การแสดงท่าทางของหระหัตถ์(มือ)​ที่ต่างกันและรายละเอียดตกแต่งและรวมถึงขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยและมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
1.แบบที่1​ที่เรียกกันว่า”พิมพ์นั่งเมือง​”ลักษณะประทับนั่งโดยพระกรทั้ง2ข้างวางบนพระอูรุ(ต้นขา)​ทั้ง2ข้าง​ บางพิมพ์พระกรซ้ายดูคล้ายจะวางบนที่วางพระกรด้านข้างที่ประทับ​ โดยทรงเครื่องมีรายละเอียดตกแต่งโดยรอบมากที่สุดทั้งบัลลังก์และช่อชัยพฤกษ์ที่ละเอียดงดงามที่สุด
2.แบบที่2เรียกว่า”พิมพ์ทรงเมือง” จะมีลักษณะประทับนั่งบนบัลลังก์​โดยยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นระดับพระอุระ(อก)​ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระอูรุ(ต้นขา)​ รายละเอียดตกแต่งน้อยกว่าและความละเอียดงดงามน้อยทุกพิมพ์​ แต่มีขนาดใหญ่กว่าทุกพิมพ์
3.แบบที่3​ จะมีลักษณะและขนาดคล้ายพิมพ์นั่งเมือง​ ต่างกันที่รายละเอียดพิมพ์​ โดยประทับนั่งบนบัลลังก์เหมือนกันแต่จะยกพระกร(แขน)​ทั้ง2ข้างขึ้นระดับพระอุระ(อก)​ โดยรายละเอียดตกแต่งโดยรอบมีช่อชัยพฤกษ์คล้ายพิมพ์นั่งเมืองแต่ไม่ละเอียดงดงามเท่าและมีขนาดเล็กกว่าทั้ง2พิมพ์
ผมนำภาพเปรียบเทียบมาให้เพื่อนสมาชิกได้ชมโดยพิมพ์นั่งเมืองนั้นคิดว่าทุกท่านน่าจะรู้จักและเคยเห็นมามากพอสมควรแล้วและผมเคยนำมาลงให้ชมหลายครั้งแล้ว ในครั้งนี้จะขอลงอีก2พิมพ์ที่เหลือคือแบบที่2และ3ให้ได้ชมโดยละเอียดครับ