Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

 ขอนำพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนสิงห์ 1 จำนวน 4องค์มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและพิจารณาดังนี้
1.องค์หน้าตักกว้าง 12 นิ้ว วรรณะน้ำตาลเข้ม ซึ่งนับว่าเป็นขนาดที่พบน้อยมาก
2.องค์หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว วรรณะเขียว
3.องค์หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว วรรณะน้ำตาลเข้ม
4.องค์หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว วรรณะเขียวที่มีการฝังลงกรุ
หลักการพิจารณาพระพุทธรูปนั้นใช้องค์ประกอบหลัก 3อย่างเหมือนกับการพิจารณาพระเครื่องทุกๆหมวดคือ
1.พิมพ์และวิธีการสร้าง
รายละเอียดของศิลปะตรงยุคสมัยและวิธีการสร้างถูกต้อง ท่านสมาชิกต้องศึกษาเรียนรู้ลักษณะพุทธศิลป์ของพีะพุทธรูปสมัยเชียงแสนให้เข้าใจก่อนและจดจำให้ติดตา เพราะรายละเอียดพิมพ์แต่ละยุคสมัยจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง พึงตระหนักเสมอว่าการมีรายละเอียดครบอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ แต่ท่านต้องพิจารณาลงลึกไปด้วยว่ารายละเอียดนั้นต้องนิ่มตา,ละเอียด งดงาม, อ่อนช้อยถูกต้องตามหลักของศิลปะด้วยเสมอ เพราะคนที่ทำเลียนแบบนั้นไม่สามารถทำได้เหมือนหรือใกล้เคียงของแท้ได้อย่างแน่นอน ดังนั้นถ้าเราเคยเห็นของแท้มาก่อนเขาก็จะหลอกไม่ได้ พระพุทธรูปเชียงแสนนั้นจะได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียโบราณใน”สมัยปาละ” ซึ่งทางเพจจะได้นำรายละเอียดพิมพ์มาแสดงให้ชม
ส่วนวิธีการสร้างนั้น จะเป็นการหล่อแบบโบราณเบ้าทุบ มีดินไทยบรรจุอยู่ใต้ฐาน ซึ่งลักษณะของดินนี้จะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ได้อย่างดีอีกทางหนึ่งว่าใช่ของแท้หรือเลียนแบบ เพราะลักษณะของดินไทยยุคเชียงแสน จะเป็นดินหยาบปนทรายเม็ดเล็กกลางใหญ่ปนกัน สีออกแดงอมน้ำตาลเข้ม มีร่องรอยการถูกความร้อนสูงขณะหล่อ
2.มวลสารหรือวัสดุที่ใช้สร้างถูกต้อง
วัสดุที่ใช้สร้างคือโลหะผสมหรือสัมฤทธิ์โบราณ ซึ่งเป็นโลหะหลายชนิดมาหลอมรวมกันได้แก่ทองคำ, เงิน, นาค, ทองแดง ฯลฯที่มีมากในสมัยนั้น และสัดส่วนของโลหะไม่ได้มีมาตรฐานแน่นอนขึ้นอยู่กับผู้สร้างที่หาได้ในแต่ละแห่งแต่ละยุค ดังนั้นจะเห็นว่าพระพุทธรูปยุคเดียวกันพิมพ์เดียวกันแต่จะมีสีหรือวรรณที่ผิวองค์พระแตกต่างกันตามโลหะที่นำมาสร้าง ตั้งแต่เขียว, น้ำตาลอ่อนและน้ำตาลเข้มอมดำ ซึ่งพระพุทธรูปทุกองค์จะต้องมีสนิมโลหะที่ผิวสมอายุ 700-900 ปีเสมอ ดังนั้นจึงมีการทำสนิมเลียบแบบมาขึ้นมาเพื่อให้สมจริง ซึ่งลักษณะของสนิมแท้นั้นสนิมจะเกิดจากเนื้อในค่อยๆหนาตัวศ้อนกันขึ้นมาที่ละนิดและติดแน่นกับผิวไม่สามารถเช็ดออกได้ด้วยมือและธรรมชาติความหนาของสนิมไม่เท่ากันในแต่ละจุด แต่ของเลียนแบบสนิมจะไม่ติดแน่นที่ผิวหลุดออกง่าย มีความหนาเท่ากันหมด สีไม่เป็นธรรมชาติ และถ้าใหม่มาอาจจะมีกลิ่นสีของสารเคมีที่นำมาทำสนิมปลอม
3.ความเก่าสมอายุการสร้าง (ศตวรรษที่ 16-17)
คือราว 800-900 ปี ซึ่งความเก่าขององค์พระนี้สามารถพิจารณาได้จาก
1.ความเก่าของโลหะ ผิวโลหะของค์พระต้องเรียบตึงมากไม่บวม และเมื่อเก่ามากจะต้องมีสนิมหนาตัวมากขึ้นเป็นลำดับให้เห็นด้วยเสมอ
2.ความเก่าของดินใต้ฐาน จุดบ่งชี้ความเก่าของดินใต้ฐานคือ ดินจะต้องหดตัวมากจนเกิดช่องว่างระหว่างดินตรงกลางและขอบด้านในของฐานโลหะเสมอ, ดินต้องมีความแห้งจัดมาก, มีการสึกกร่อนและหลุดออกของดินแบะเม็ดกรวดทรายให้เห็นเป็นธรรมชาติ, ดินต้องมีความแกร่งและแข็งมากและไม่ร่วนเป็นฝุ่นติดมือเวลาใช้มือลูบใต้ฐาน ถ้าดินละเอียดเป็นฝุ่นติดมือเวลาลูบดินแสดงว่ายังใหม่มาก
ดังนั้นการพิจารณาท่านส​มา​ชิกจะต้องดูให้ครบทั้ง 3องค์ประกอบอย่างละเอียดรอบคอยเสมอทุกครั้ง