Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

ทางเพจขอนำพระกรุนาดูนจำนวน 3พิมพ์ ซึ่งในช่วงระยะหลัง 1-2ปีมานี้ที่มีการนำมาเปิดเผยในกลุ่มที่สะสมพระกรุนาดูนจากการร่วมทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง ได้แก่
1.พิมพ์ฐานบัวรัศมีซุ้มโค้งที่มีพิมพ์คล้ายกับ”พระซุ้มกอ” จ.กำแพงเพชร
2.พิมพ์เสมา
3.พิมพ์ 5เหลี่ยม ที่คล้ายกับ”พระขุนแผนกรุบ้านกร่าง”
ซึ่งทั้ง 3พิมพ์นี้ต้องยอมรับว่าในกลุ่มที่เคยสะสมกันมาในอดีตยังไม่เคยผ่านตากันมาก่อนรวมทั้งตัวผู้เขียนด้วยเช่นกัน ด้วยความต้องการที่จะหาคำตอบให้แน่ใจว่าเป็นพระกรุนาดูนหรือไม่ จึงทำให้ผมได้เริ่มต้นค้นคว้าและรวบรวมพระพิมพ์ทั้ง 3พิมพ์ในช่วง1ปีมานี้ โดยส่วนหนึ่งจากการร่วมทำบุญกับทางวัดที่จัดโดยกลุ่มสมาชิกและอีกจากแหล่งอื่นๆด้วยเช่นกัน โดยผมได้รวบรวมไว้จำนวนประมาณ2-300องค์ แล้วนำมาเริ่มศึกษาและนำมาพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบกับพระกรุนาดูนชุดเก่าต่างที่ผมได้เก็บรวบรวมไว้
หลักการที่ผมนำมาพิจารณาและศึกษาคือองค์ประกอบหลัก 3ประการ
1.พิมพ์ รายละเอึยดพิมพ์ที่เห็นทั้ง 3พิมพ์นั้นพุทธศิลป์จะดูนิ่มตา งดงามและมีมิติ จากการศึกษาเรื่องพิมพ์ของพระพิมพ์โบราณในตำราของ อ.จิตร บัวบุศย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระพิมพ์ของเมืองไทย ซึ่งท่านได้พิมพ์เป็นตำราพร้อมรูปภาพของแต่ละยุคสมัยของอินเดียโบราณเทียบกับยุคสมัยทีาตรงกันของไทยและอายุเป็นพ.ศ.ในแต่ยุคไว้ด้วย โดยพบว่าทั้ง 3พิมพ์เป็นพิมพ์ที่พบอยู่ในตำราทั้งสิ้นโดย(มีภาพประกอบ)​
-พระพิมพ์ฐานบัวรัศมีซุ้มโค้งหรือ”พิมพ์พระซุ้มกอ” นั้นพบในยุคโจฬะ-ปาณทยะ ซึ่งตรงกับยุคสุโขทัยของไทย
-พระพิม์ 5เหลี่ยมและพิมพ์เสมาพบในสมัยปาณทยะซึ่งตรงกับยุคเชียงแสนของไทย
-พิมพ์เสมาตรงกับยุคปาณทยะ -วิชัยนคร ซึ่งตรงกับยุคสมัยอยุธยาของไทย
ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงเรื่องพิมพ์จะพบว่าทั้ง3พิมพ์นั้นจะพบอยู่ในช่วงยุคโจฬะ – ปาณทยะ – วิชัยนคร ซึ่งเป็นศิลปะอินเดียโบราณในยุคท้ายๆ เมื่อเทียบกับกรุนาดูนอื่นๆที่เคยเห็นกันในอดีตที่เป็นพทธศิลป์ในยุคต้นๆ
2.อายุ ซึ่งถ้าเทียบเคียงจากพุทธศิลป์คร่าวๆ ให้เป็นอายุที่เป็นพ.ศ.แล้วจะอยู่ในช่วงปีพ.ศ.1389-2180 โดย
-สมัยโจฬะ(พ.ศ.1389-1822)
-สมัยปาณทยะ(พ.ศ.1643-1893)
-สมัยวิชัยนคร(พ.ศ.1893-2180)
(นครจำปาศรี(เมืองนาดูน)​นั้นตามประวัติศาสตร์ได้ล่มสลายลงในราวพ.ศ.1900)​
คิดเป็นช่วงอายุตามพระพิมพ์ที่สร้างก็จะมีอายุราว6-700ปีถึง1100ปีโดยประมาณ ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงยุคสมัยที่นครจำปาศรียังไม่ล่มสลาย และจากการพิจาณาจากความแกร่งของเนื้อดินเผาและแร่แล้วจะพบว่าเนื้อพระพิมพ์จะมีความเก่าแกร่งมากเช่นเดียวกับพระกรุนาดูนพิมพ์ต่างๆที่เคยพบมาในอดีตทุกประการ
3.เนื้อและมวลสาร,คราบกรุ,คราบไขและแร่ธรรมชาติ จะพบว่าจากลักษณะทางกายภาพภายนอกที่เห็น ทั้งเนื้อดินเผาที่เก่ามีการสึกกร่อน รูพรุนที่ผิวองค์พระจากความเก่าที่เป็นธรรมชาติให้พบเห็น คราบกรุ, คราบไขลักษณะของแร่ เวลาที่ดูด้วยตาเปล่า,น้ำหนักของพระพิมพ์, การนำไขที่ปิดผิวออกด้วยการขูดออกด้วยเข็มฉีดยาพบว่าความแกร่งของเนื้อดินเสมือนกลายเป็นหินแล้วและธรรมชาติการผุดของเม็ดแร่ ด้วยแล้วทุกๆอย่างไม่มีความแตกต่างกับพิมพ์อื่นๆของกรุนาดูนที่ผมเคยพบและศึกษามาในอดีตแต่อย่างใด
จากข้อมูลการพิจารณาและศึกษาข้างต้น จึงสามารถสรุปทั้งเรื่องเนื้อ, พิมพ์และความเก่าซึ่งเป็น 3องค์ประกอบหลักได้ว่าพระพิมพ์ทั้ง3พิมพ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นพระกรุนาดูนแท้อย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆ
บางท่านสงสัยว่าแล้วทำไมในอดีตไม่มึใครเคยพบเจอทั้ง 3พิมพ์มาก่อน ผมขอให้ข้อมูลดังนี้ครับ
1.ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระกรุนาดูนนั้นมีอายุการสร้างตั้งแต่ 1900ปีก่อนเรื่อยมาจนมาถึง700ก่อนปี จะเห็นว่ามีอารยธรรมการสร้างพระพิมพ์ต่อเนื่องยาวนานกว่า1000ปี ดังนั้นทั้งพิมพ์และจำนวนการสร้างนั้นจึงมีมากมายมหาศาลยากที่จะมีใครเคยพบทั้งหมด ขนาดพระสมเด็จวัดระฆังอายุกว่า160ปีเท่านั้นยังมีพิมพ์ที่เรายังไม่เคยเห็นอีกมากมาย ดังนั้นเมื่อพิมพ์ที่ท่านไม่เคยเห็นไม่ใช่ว่าไม่มีอยู่จริง
2.การขุดพบพระกรุนาดูนในอดีตนั้นมีมากมายหลายกรุและยังคงมีอีกหลายกรุที่ยังไม่มีการขุดพบ ดังนั้นการพบกรุใหม่และพิมพ์ใหม่ที่ในอดีตยังไม่เคยพบจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
3.อาจจะมีการพบแล้วตั้งแต่ในอดีตแต่ด้วยการสื่อสารที่ไม่รวดเร็วเหมือนปัจจุบันจึงทำให้ไม่ทราบกันโดยแพร่หลายก็เป็นได้
4.พระที่ขุดพบอาจมีจำนวนน้อยไม่มากเหมือนพิมพ์อื่นๆทำให้ตกอยู่ในคนกลุ่มน้อยต่อมาปัจจุบันจึงค่อยมาพบเห็น เมื่อคนกลุ่มใหญ่ไม่มีจึงบอกว่าไม่มีพิมพ์เหล่านี้อยู่
คำพูดที่ว่าพิมพ์ทั้ง 3นี้ไม่ใช่พระกรุนาดูน “เพราะว่าเขาไม่เคยเห็นมาก่อน” เหตุผลนี้นำมาใช้ยืนยันไม่ได้โดยสิ้นเชิง เพราะไม่ใช่เหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ ในเมื่อเนื้อดินใช่, คราบไขคราบกรุใช่เนื้อแร่ใช่และมีความเก่าสมอายุ เพียงแค่พิมพ์เท่านั้นที่ไม่เคยเห็นจึงจะมาสรุปว่าไม่ใช่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง
ขอให้ท่านสมาชิกได้เปิดใจและลองพิจารณาด้วยปัญญาด้วยเหตุและผลตามที่ผมได้นำเสนอพร้อมภาพประกอบด้านล่างอย่างรอบคอบ ขออย่าพิจารณาด้วยความเชื่อและคำบอกเล่าเพียงอย่างเดียว “พระเครื่องแท้ ต้องแท้ที่องค์พระ” เท่านั้นคำตอบอยู่ที่องค์พระ
ผมเคยบอกเสมอว่าใน3องค์ประกอบหลักนั้นคือพิมพ์, เนื้อและความเก่า สิ่งที่แปรผันและเห็นต่างกันได้คือเรื่องพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามพิมพ์ที่ไม่เคยเห็นนั้นจะต้องมีความเก่าและเนื้อถูกต้องเหมือนกับพิมพ์ที่เคยพบเจอกันอยู่ในอดีตเสมอ ไม่ใช่ว่าพิมพ์ต่างไปแล้วแต่ว่าเนื้อดินและความเก่ากลับไม่ใช่(เนื้อดินไม่ใช่, ความเก่าไม่ถึงยุค)​ก็ถือว่าพระพิมพ์องค์นั้นยังไม่ใช่ของแท้ครับ