Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอนำ “ตะกรุดมหามงคลโสฬส(ตะกรุดหางหนู)​ของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง” จ.นนทบุรี ซึ่งถือว่าเป็นตะกรุดที่มีความนิยมสูงสุดของไทยและยังเป็น 1ในชุดเบญจภาคีของชุดเครื่องรางของขลังอีกด้วย
ตะกรุดที่นำมาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาในวันนี้มีทั้งหมด 5ดอก
1.เนื้อทองคำยาว 5นิ้ว 1ดอกเชือกถักลายเกลียวกระบอง (เกลียวเชือก)
2.เนื้อทองคำยาว 2นิ้วครึ่ง 1ดอก เชือกถักลายเกลียวกระบอง(เกลียวเชือก)​
3.เนื้อทองแดงยาว 5นิ้ว 1ดอก เชือกถักลายเกลียวกระบอง(เกลียวเชือก)
4.เนื้อทองแดงยาว 4นิ้ว 1ดอก เชือกถักลายจระเข้ขบฟัน(ลายฟันปลา)
5.เนื้อทองแดงยาว 4นิ้ว 1ดอก เชือกถักลายเกลียวกระบอง(เกลียวเชือก)
การสร้างนั้นขออธิบายคร่าวๆคือเริ่มตั้งแต่
1.การเตรียมแผ่นโลหะที่ต้องการสร้างตะกรุดเช่นทองคำและทองแดงโดยนำแผ่นโลหะมารีดเป็นแผ่นบางๆแล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วลบมุมทั้ง 4ออก, แผ่นทองคำนั้นต้องนำมาทุบรีดให้บางลงอีกหลายรอบจนกว่าจะบางได้ที่ตามต้องการโดยเมื่อขยายดูด้วยกำลังขยายสูง1000เท่าจะเห็นที่ผิวมีร่องรอยการตีแต่ของใหม่ผิวจะเรียบไม่มีร่องรอยให้เห็น
2.การจารอักระเลขยันต์ด้านหน้าและหลัง โดนด้านหนึ่งจารยันต์มหามงคลโสฬสและอีกด้านหนึ่งจาร ยันต์ไตรสรณคมน์ซึ่งยันต์ทั้ง 2แบบถือว่าเป็นยันต์ครอบจักรวาลและศักดิ์สิทธิ์มาก
3.ม้วนแผ่นตะกรุดที่จารเรียบร้อยแล้ว โดยการม้วนจะต่างจากการสร้างตะกรุดทั่วไป คือการม้วนจากมุมหนึ่งไปยังมุมฝั่วตรงข้าม ไม่ใช่ม้วนตามแนวยาว เมื่อเสร็จแล้วตะกรุดจึงมีลักษณะปลายเป็นเกลียวแหลมใหญ่ไปเล็กจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “ตะกรุดหางหนู”
4.นำเชือกป่านมาถักที่ตัวตะกรุดจนเต็มยกเว้นบริเวณส่วนปลาย(หางหนู) การถักเชือกที่พบจะมีอยู่ 2ลายคือ ลายเกลียวกระบองหรือเกลียวเชือกและลายฟันจระเข้ขบกันหรือลายฟันปลาซึ่งจะพบน้อยกว่าลายเกลียวเชือก
5.หุ้มด้วยรักดำบางดอกจะลงชาดด้วยจึงเห็นด้านล่างรักเป็นสีแดงของชาดอยู่ เสร็จแล้วจึงนำมาทำพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง
การพิจารณาตะกรุดของล.ป.เอี่ยม วัดสะพานสูง นั้นใช้การพิจารณาตามหลักการศึกษาเดียวกันกับการพิจารณาพระเครื่องทุกหมวดโดยมีหลักการดังนี้
1.ความเก่าของตะกรุด (จากประวัติตะกรุดนี้สร้างที่วัดสว่างอารมณ์(ชื่อเดิมของวัดสะพานสูง ในช่วงที่ล.ป.เอี่ยม ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.2396 เพื่อหาปัจจัยบำรุงศาสนสถานต่างๆ และท่านได้มรณภาพในพ.ศ.2439 ดังนั้นอายุของตะกรุดจะอยู่ในช่วง 125-168ปี
ดังนั้นการพิจารณาความเก่าต้องดูทั้งความเก่าของ โลหะจากสีของทองคำต้องเหลืองสุกสีเหลืองเข้ม,สีและสนิมของทองแดง, รักต้องเก่า,แห้งหดตัวมีรอยปริแยกสมอายุซึ่งของใหม่จะไม่มีและเชือกถักว่าเก่าสมอายุหรือไม่
2.รายละเอียดการสร้างทั้งลักษณะตะกรุดเช่นการม้วนเป็นหางหนู รายละเอียดต้องสมบูรณ์สวยงามและถูกต้องและการถักเชือกลวดลายต่างๆต้องถูกต้อง
3.วัสดุที่ใช้สร้างต้องถูกต้องตรงยุคสมัย ทั้งทองคำ, ทองแดง, รักและเชือกถัก ต้องพิจารณาลักษณะสีและความเก่าของทองคำแท้และแผ่นทองผ่านการตีจนบางผิวจะมีรอยการตีให้เห็นไม่เรียบเหมือนของปลอม, แผ่นทองแดงต้องเก่ามีสนิมสมอายุ, รักต้องเก่า, แห้งหดตัว, แตกระแหง
ในสื่อออนไลน์นั้นมีของปลอมมากมาย ท่านสมาชิกอย่าเห็นแต่ว่าเป็นทองคำ? แล้วสรุปไปเองว่าใช่ ท่านต้องดูให้ครบในรายละเอียดและมีความเก่าถึงอายุด้วยหรือไม่
การพิจารณาต้องมีครบทุกองค์ประกอบหลักก่อนที่จะสรุปสุดท้ายว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะว่าเราไม่สามารถแกะหรือคลี่แผ่นตะกรุดมาตรวจสอบได้ ว่ารอยจารต่างๆถูกต้องหรือไม่ เราจึงต้องอาศัยการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะภายนอกของวัสดุที่ใช้สร้างและประวัติการสร้างเป็นหลักมาประกอบกันรวมทั้งรายละเอียดศิลปะที่ช่างฝีมือสร้างกับคนธรรมดาสร้างนั้นจะต่างกันในเรื่องของรายละเอียด, ความสมบูรณ์ของชิ้นงาน ซึ่งทางเพจได้นำภาพรายละเอียดต่างๆมาประกอบการพิจารณาให้เห็นอย่างครบถ้วน
ท่านสมาชิกสามารถศึกษาพระเครื่องหมวดต่างๆเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ www.puttharugsa.com ครับ