Select Page

หลักการศึกษาและพิจารณา “พระกริ่งปวเรศ”รุ่นที่ 1

สมัญญานามของคำว่า”ปวเรศ” นั้นมีความหมายถึงพระกริ่งที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ พระสังฆราชเจ้าองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระกริ่งปวเรศยุคต้นนั้นหมายถึงพระกริ่งที่สมเด็จฯท่านเริ่มสร้างและอธิษฐานจิตทั้งหมดจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ชีพ บางแหล่งข้อมูลแจ้งว่ามีทั้งสิ้น 6ครั้งซึ่งครั้งสุดท้ายสร้างในปีพศ.2434 ดังนั้นข้อมูลในการศึกษาและพิจารณาที่ควรทราบจึงมีดังต่อไปนี้
-อายุของพระกริ่งต้องไม่ต่ำกว่า
2564-2434=130ปีเป็นอย่างน้อยในการพิจารณาความเก่าของโลหะที่สร้างคือคราบสนิมอมดำเนื้อโลหะต้งไม่สดใหม่ วาวจนผิดยุคสมัย
-การสร้างจะเป็นแบบหล่อโบราณเต็มองค์ไม่มีการอุดก้นดังนั้นสิ่งที่จะต้องพบเห็นคือ
1.ลักษณะของเบ้าประกบแบบโบราณดังนั้นที่ด้านข้างองค์พระจะต้องพบร่องรอยของรอยเบ้าประกบให้เห็นชัดเจนทุกองค์
2.ผิวของพระกริ่งจะต้องไม่เรียบมากจนผิดธรรมชาติของพระหล่อโบราณ
3.จะต้องพบเห็นคราบเก่าหรือคราบขี้เบ้าในซอกลึกบ้างไม่ควรจะสะอาด มันวาวจนผิดธรรมชาติไป
-เนื้อเป็นนวโลหะ(โลหะผสม9อย่าง) ดังนั้นจะพบเห็นกระแสโลหะที่ผสมในเนื้อโดยเฉพาะเนื้อโลหะทองคำที่ผิวด้านนอกสุดเนื่องจากมีความถ่วงจำเพาะมากที่สุด
-สีหรือวรรณะภายนอกจะเป็นสีน้ำตาลอมส้มหรือที่เรียกว่า” สีมันเทศ”และมีสนิมอมดำ
-รายละเอียดพิมพ์ที่ช่างหลวงออกแบบ จะชัดเจนสวยงามทุกมิติ เอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ควรทราบมีดังนี้
1.รูปหล่อลอยองค์ขัดสมาธิเพชร
2.พระเกศจะเป็นเอกลักษณ์เมื่อมองด้านข้างด้านหลังจะแบนมากกว่าด้านหน้า และพระเกศจะแบ่งเป็น3ชั้น ชั้นบนสุดเป็นแบบตุ้มหรือบัวตูม ฐานชั้นกลางด้านหน้ามีรูปพระจันทร์เสี้ยว
3.เม็ดพระศกที่พระเกศใช้การตอกด้วยตัวตุ๊ดตู่ภายหลังจากการหล่อ จุดนี้ใช้พิจารณาได้ดีเพื่อแยกจากของปลอม โดยพิจารณาธรรมชาติในการตอก ลักษณะเส้นวงของพระศกจะตื้นลึกไม่เท่ากัน ความชัดของวงกลมของพระศกจะไม่เหมือนกันทุกวงเนื่องจากน้ำหนักมือของที่ช่างไม่เท่ากันเวลาตอก
3.มีไรพระศกลึกชัดเจนที่ใบหน้า
4.พระพักตร์มีรายละเอียดที่ขัดเจนดังนี้
-พระเนตรยาวรีโค้งปลายไปด้านหลังลักษณะ”ตาจีน”
พระนาสิก(จมูก)เป็นสันคมชัดเจน
-พระโอษฐ์(ปาก)มีริมฝีปากบนยื่นนูนหนักเล็กน้อยเป็นเอกลักษณ์ ของปลอมริมฝีปากบนจะทำนูนสูงชัดเจนมากไปดูผิดธรรมชาติ และมีร่องใต้จมูก และร่องลึกที่มุมปากทั้ง 2ข้างชัดเจน
-พระกรรณ(หู)ข้างขวาสูงกว่าเล็กน้อยแนบชิดกับพระเกศาลงมาจรดบ่า
5.ลำพระองค์ดูงดงาม แขนขวาโค้งสวยงาม
5.ประทับเหนืออาสนะบัลลังก์บัวคว่ำและบัวหงาย 2ชั้้นๆละ 8กลีบโดยอยู่ด้านหน้า 7กลีบ ด้านหลังตรงกลาง 1กลีบ ลักษณะกลีบบัวเป็นสี่เหลี่ยม
6.ด้านหลังที่ฐานมีการตอกโค้ดรูปเม็ดงาไว้ด้วยทุกองค์ การตอกต้องลึกชัดเจน
7.มีการอุดกริ่งที่ฐานด้านหลัง เป็นการอุดกริ่งแบบโบราณลักษณะการอุดแบะเจาะต้องเป็นเอกลักษณ์และเสียงกริ่งดังกังวาน
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.puttharugsa.com