Select Page

ขอนำพระพุทธรูปสำริดโบราณ มาให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาและเรียนรู้วิธี

ในการพิจารณาเพื่อการสะสมที่ถูกต้องและมีหลักการ สำหรับพระพุทธรูปสำริดที่นำมามีจำนวน 3องค์ได้แก่
1.พระพุทธรูป”เศรษฐีนวโกฏิ” หน้าตัก 9นิ้วอายุ 7-800ปีศิลปะสมัยปาละ จำนวน 2องค์
2.พระสังกัจจายน์ อายุ 6-700ปีสมัยเชียงแสน หน้าตัก 9นิ้ว
1.พระพุทธรูปเศรษฐีนวโกฏิ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือมีพระเศียร(ศรีษะ)และพระพักตร์(หน้่า)จำนวน 9เศียรในองค์เดียว สำหรับประวัติการสร้างนั้นไม่เป็นที่ทราบชัดเจน มีเพียงประวัติที่สัณนิษฐานหรือบอกต่อกันมาหลายข้อมูล ซึ่งส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าเศียรทั้ง 9หมายถึงเศรษฐีทั้ง 9ในสมัยพุทธกาลที่เป็นผู้ทะนุบำรุงพุทธศาสนา แต่ในความคิดเห็นของผมแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้เนื่องจากพุทธศิลป์ที่เห็นนั้น ทุกเศียรจะมีพระพักตร์ของพระพุทธเจ้ามีพระเกศเป็นตุ่มกลม,ยอดพระเกศเป็นบัวตูม, มีอุณหิศที่กลางระหว่างคิ้ว พระพักตร์เหมือนกันทุกหน้าซึ่งรายละเอียดของศิลปะทั้งหมดนี้ผู้สร้างต้องการสื่อถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้นจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แต่การที่มีพระพักตร์มากนั้นน่าจะเกิดจากพุทธศิลปินฝ่ายมหายานเป็นผู้สรรสร้างตามจินตนาการขึ้นมาเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆเช่นริ้วจีวรแบบห่มเฉียง และสังฆาฏิแบบซ้อน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำบัวหงายที่กลีบบัวเป็นลายเส้น ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดที่เห็นเป็นรูปแบบในศิลปะสมัยปาละ
สำหรับพระเศรษฐีนวโกฏิที่นำมาให้สมาชิกได้ชมนี้เป็นยุคต้นซึ่งศิลปะ ความเก่าและเนื้อสำริด และดินใต้ฐานเก่ามากสมอายุและที่สังเกตได้คือดินใต้ฐานไม่ใช่ดินไทยที่พบเห็นในพระพุทธรูปทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่น่าจะหาชมของเก่าแท้หรือแม้แต่รูปภาพของแท้ได้ที่ไหน
2.พระสังกัจจายน์ ศิลปะเชียงแสน เนื้อสำริด อายุ6-700ปีองค์นี้ ท่านสมาชิกจะได้เห็นรายละเอียดศิลปะที่งดงามมาก มีความละเอียดอ่อนช้อย ความเก่าของเนื้อสำริดโบราณและสนิมสำริด และดินไทยใต้ฐานที่เก่าจัดและแข็งสมอายุ ที่หาชมของแท้ได้ยากมากเช่นเดียวกันในปัจจุบันนี้
ขอแนะนำหลักการที่ใช้พิจารณาพระพุทธรูปเนื้อสำริดโบราณที่สำคัญ ซึ่งจะเหมือนกับหลักการพิจารณาพระเครื่องทั่วๆไปที่ได้เคยเน้นย้ำมาทุกครั้งคือ
1.รายละเอียดศิลปะที่นิ่มตา ที่เกิดจากการออกแบบของช่างศิลป์ยุคเก่าที่ตั้งใจสร้างอย่างมาก สร้างด้วยความศรัทธาและความเคารพสูงสุด ดังนั้นผลงานที่ออกมาต้องสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้คำว่า”นิ่มตา” หมายถึง ละเอียด อ่อนช้อย สมบูรณ์ งดงาม สมส่วน มีมิติ มองแล้วไม่แข็งไม่ขัดตา ผมสังเกตว่าหลายๆท่านมักจะคิดไปเองว่าพระเก่านั้นต้องสึกบ้าง ความชัดเจนอาจจะขาดไปไม่ครบหรือเบลอไปบ้างเพราะอายุมาก สิ่งนี้ถือว่าผิดพลาดมากครับ เนื่องจากพระเก่าแท้นั้นสร้างจากสำริดมีค่าในยุคนั้น จะไม่เป็นสนิมหรือผุกร่อนแม้แต่จะฝังดินไว้ก็ตาม และรายละเอียดจะต้องคงชัดเจนเสมอ ขอฝากจุดนี้ไว้ให้พิจารณา
การพิจารณารายละเอียดพิมพ์นั้นถ้าเคยเห็นพระพุทธรูปแท้มามากๆหรือบ่อยๆหรือมีความรู้ทางศิลปะมาพอสมควรแค่มองครั้งแรกก็จะสามารถบอกได้แล้วว่าแท้หรือปลอม
2.ความเก่าสมอายุขององค์พระที่สร้าง ซึ่งการดูความเก่านั้นจะสามารถดูได้จาก
2.1ผิวองค์พระต้องเรียบตึงหดตัวตามกาลเวลาหลายร้อยปี ผิวต้องไม่บวม
2.2 สนิมสำริดต้องมีตามธรรมชาติ สีสนิมต่างกันตามชนิดโลหะที่ใช้และการที่ถูกเก็บเช่นสนิมเขียวหรือน้ำตาลอมดำหรือน้ำตาลอมแดง(สนิมทองคำ)
-ลักษณะการเกิดของสนิมจะต้องเกิดจากเนื้อในผิวค่อยๆสะสมหนาตัวขึ้นที่ละน้อยๆตามอายุจะมีความเข้มของสีสนิมต่างกันในแต่ละจุดและสนิมจะติดแน่นกับเนื้อพระ แม้จะใช้ทินเนอร์เช็ดก็ไม่ออกต้องใช้กระดาษทรายหรือตะไบขัดแรงๆผิวจึงจะเปิด ต่างจากสนิมที่คนทำขึ้นจะไม่ติดแน่นแค่ขัดหรือถูเบาๆหรือทินเนอร์เช็ดก็หลุดแล้ว และสีสนิมปลอมจะดูเท่ากันทั้งองค์ บางครั้งก็มีกลิ่นสีที่ใช้ทำสนิมปลอม
2.3ความเก่าของดินใต้ฐานสำคัญมากจะต้องพิจารณาทุกครั้ง ของปลอมดินจะใหม่ร่วน ละเอียด ไม่แข็งเพราะยังใหม่อยู่
3.วัสดุที่ใช้สร้างคือ
3.1โลหะสำริดหรือหรือโลหะผสมยุคโบราณ วิธีพิจารณาคือน้ำหนักจะมากกว่าของปลอมเมื่อที่ขนาดเท่ากัน สีสำริดจะสุกกว่าและไม่เป็นสนิมไม่ผุ
3.2ดินใต้ฐาน ดินที่บรรจุใต้ฐานนั้นจะมีอายุเท่ากับองค์พระซึ่งก็คืออายุของการสร้างพระพุทธรูปองค์นั้นๆ ดังนั้นจะต้องพิจารณาทุกครั้ง(ขอย้ำ) เพราะบางครั้งถ้าดูพิมพ์แล้วยังไม่แน่ใจ ดูเนื้อสำริดไม่ออก แต่ถ้าดูดินใต้ฐานประกอบด้วยจะช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น บางคนที่ขายของปลอมจะกลัวมากต้องเอาดินออกก็พบมาก ต้องระวังจุดนี้ครับ
ขอให้ท่านสมาชิกศึกษาข้อมูลด้านบนนี้ประกอบ ท่านจะสามารถพิจารณาพระพุทธรูปสำริดโบราณได้อย่างมั่นใจขึ้นไม่มากก็น้อยครับ