Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอนำ”พระเหรียญขัน(บาตร)น้ำมนต์ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่” สร้างเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ.2517 (เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน)​ที่มีทั้งขนาดและเนื้อโลหะแบบต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีใครนำมาแสดงให้ชมอย่างละเอียดครบถ้วนและบางพิมพ์ที่ยังไม่เคยถูกนำเสนอมาก่อน
การเรียกชื่อเหรียญว่า”ขันน้ำมนต์”ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกต้องหรือที่คนส่วนมากมักเรียกกันจนติดปากว่าเหรียญ”บาตรน้ำมนต์” นั้นมีที่มาจากหลวงปู่ทิมท่านมีเจตนาที่จะให้ผู้ที่เช่าบูชาเหรียญนี้ไปใช้แช่ในน้ำเพื่อที่จะทำน้ำมนต์แทนตัวท่าน โดยท่านได้ให้ขี้ผึ้งของท่านเพื่อนำมาบรรจุไว้ในเหรียญ แต่ก็ไม่สามารถบรรจุไว้ได้ในที่สุด เหรียญ”บาตรน้ำมนต์” นี้นำรูปแบบการสร้างมาจากเหรียญ”มหาสมณุตตมาภิเศก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระสังฆราชองค์ที่ 8แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างเมื่อพ.ศ.2434 และพระองค์ท่านคือผู้ที่สร้าง” พระกริ่งปวเรศ” ที่เป็นพระกริ่งอันดับหนึ่งของเมืองไทยตลอดกาล
เหรียญบาตรน้ำมนต์นั้นทั้งขนาดและชนิดโลหะที่ใช้สร้างมีข้อมูลที่ครบถ้วนน้อยมาก ดังนั้นทางเพจจึงได้นำมาแสดงใ้ห้ชมแบบครบถ้วนที่สุด
พระเครื่องทั้งหมดของลป.ทิมนั้นผมได้จากผู้ที่เคยครอบครองไว้ในช่วงที่หลวงปู่ทิมยังมีมีชีวิตอยู่ในขณะนั้นและเก็บรักษามากว่า 30ปีซึ่งท่านเก็บสะสมไว้มากกว่า 300ชิ้นซึ่งผมได้รับมอบมาเก็บรักษาและศึกษารายละเอียดเป็นเวลากว่า 10ปีพร้อมกับกล่องบรรจุเหรียญภาพเดิมๆจากวัด
สำหรับเหรียญบาตรน้ำมนต์ที่เก็บสะสมไว้นั้นมีทั้งหมด 30เหรียญโดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้
1.ขนาดเหรียญที่สร้างทั้งหมดมี 3ขนาดคือ เล็ก กลางและใหญ่
2.เนื้อโลหะที่ใช้สร้างมีทั้งหมด 5ชนิด
1.เนื้อทองแดง
2.เนื้อทองแดงรมดำ
3.เนื้อโลหะผสม(นวะโลหะ)
4.เนื้อเงิน
5.เนื้อเงินหน้าทองคำ
ข้อมูลที่ต่างๆควรทราบสำหรับ”เหรียญบาตรน้ำมนต์” คือ
1.เป็นเหรียญที่สร้างแบบ”ตัดปั๊มยุคใหม่” ดังนั้น
-​พิมพ์ต้องคมชัด
-​เส้นตัดปั๊มที่ขอบข้างต้องชัดเจนเป็นจุดสำคัญในการพิจารณา เหรียญปลอมจะไม่มีเส้นตัดปั๊มที่ละเอียดและเส้นตัดไม่เป็นธรรมชาติ(ทำขึ้นภายหลัง)​
-​ผิวเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะต้องเรียบตึงมากเนื่องจากแรงอัดของการปั๊มด้วยเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ของโรงกษาปณ์เพราะขนาดและความหนาของเหรียญไม่สามารถใช้เครื่องปั๊มธรรมดาได้ ในเหรียญปลอมจะบวม ไม่เรียบตึงเพราะไม่ผ่านการปั๊ม
2.รายละเอียดพิมพ์เป็นศิลปะแบบนูนสูงสมัยใหม่
-​”ด้านหน้าเหรียญ”เป็นรูปหลวงปู่ทิมหน้าตรงครึ่งลำตัวแต่มีข้อแตกต่างในรายละเอียดคือ
-ในเหรียญขนาดใหญ่และเล็กจะมีเส้นวงกลมล้อมรอบรูปหลวงปู่และมีตัวอักษร”หลวงปู่ทิม อิสริโก” อยู่ด้านล่าง แต่เหรียญขนาดกลางจะไม่มีเส้นวงกลมล้อมรอบและไม่มีตัวอักษรชื่อหลวงปู่อยู่ด้านล่าง
_” ด้านหลังเหรียญ” เป็น “ยันต์ครู” หรือที่เรียกกันว่ายันต์ 5 อยู่ตรงกลางและมีอักขระขอมล้อมรอบ ในเหรียญทั้ง 3ขนาด แต่จุดที่ต่างกันก็คือในเหรียญขนาดใหญ่จะมีข้อความ” ที่ระลึกงานวางศิลาฤกษ์”อยู่ด้านขอบบนเหนือยันต์ 5และข้อความ” ศาลาการเปรียญ วัดละหารไร่”อยู่ขอบล่างยันต์ และเหรียญขนาดใหญ่เองในแต่ละเนื้อโลหะรายละเอียดย่อยๆของพิมพ์ก็จะต่างกันเล็กน้อยเนื่องจากเหรียญมีขนาดหนามากทำให้แม่พิมพ์สึกได้ง่ายต้องเปลี่ยนหลายชุด ส่วนเหรียญขนาดกลางจะมีแค่ยันต์ 5และอักขระขอมเท่านั้นไม่มีข้อความใดๆ ส่วนเหรียญขนาดเล็กจะเหมือนขนาดใหญ่แต่ต่างกันที่ข้อความด้านล่างของยันต์ 5จะเปลี่ยนเป็น “เหรียญขันน้ำมนต์ วัดละหารไร่ “อยู่ขอบล่างยันต์ 5
3.ขนาดและความหนาของเหรียญบาตรน้ำมนต์ ซึ่งเป็นเหรียญที่จัดทำเป็นพิเศษที่มีทั้งความหนาและขนาดเหรียญที่ไม่เหมือนทุกเหรียญที่เคยสร้างที่วัดละหารไร่ดังนั้นขนาดที่แท้จริงและความหนาของเหรียญจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ทำเลียนแบบได้ยากมากเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างเหรียญแท้กับเหรียญปลอม ซึ่งเปรียบกันได้โดย
1.วัดความกว้าง
2.วัดความหนา
3.ชั่งน้ำหนัก
4.ความเก่าของเหรียญซึ่งมีอายุเกือบ 50ปี ซึ่งต้องมีธรรมชาติความเก่า, คราบสนิมต่างๆสมอายุเหรียญในของปลอมสภาพเหรียญและกล่องจะใหม่ผิดอายุ รวมถึงสภาพเก่าของกล่องกำมะหยี่ที่บรรจุเองทั้งภายนอกและภายในกล่องก็ต้องเก่าสมอายุเช่นกัน
ขอให้ท่านสมาชิกศึกษาข้อมูลรายละเอียดเหรียญทั้งหมดด้วยความรอบคอบ เหรียญ​เหรียญ​ทั้งหมดที่นำมาแสดงนั้นมีองค์ประกอบครบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอายุความเก่า, รายละเอียดพิมพ์และวิธีการสร้างเหรียญและวัสดุหรือโลหะที่นำมาสร้างซึ่งผมได้ศึกษาและพิจารณามาอย่างรอบคอบก่อนที่จะนำมาลงให้ศึกษาเพื่อเป็นวิทยาทานความรู้ไม่ใช่เพื่อการซื้อขายแต่ประการใด และเพื่อท่านที่สนใจและคนรุ่นหลังๆจะได้เก็บไว้เป็นข้อมูลและภูมิคุ้มกัน ไม่หลงเชื่อข้อมูลต่างๆที่ถูกบิดเบือนทั้งเรื่องประวัติการสร้างและรายละเอียดพิมพ์ต่างๆที่พบอยู่มากมายในขณะนี้ ขอให้ท่านช่วยกดแชร์และติดตาม เพื่อให้สมาชิกท่านอื่นได้ทราบข้อมูลเป็นวิทยาทานต่อไป