Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

“The​ greatest​ of​ unseen Prakru Nadoon”(part 1)​
ทางเพจขอนำพระกรุนาดูนอีกพิมพ์หรือรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า”พระแผ่นเนื้อดินเผา” ที่เป็น”ขนาดกลาง(สูง12นิ้ว)​” และขนาดใหญ่(สูง24นิ้ว)​” มาเปิดเผยให้สมาชิกได้ชมแบะศึกษาเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ​ 20ปีที่ผมได้เก็บรักษาไว้​และรับรองได้ว่าจะไม่เคยมีใครเคยพบเห็นมาก่อนหรือถ้ามีก็น้อยมากๆ
ถ้าจะกล่าวถึง” พระแผ่น” ของกรุนาดูน​ที่ผ่านมาในอดีตเท่าที่เคยพบเห็นนั้นจะเป็นเพียงพระแผ่นขนาดเล็กเท่านั้น​ ซึ่งทุกท่านคงคิดว่ามีเพียงขนาดเดียวและใหญ่ที่สุดแล้วในพิมพ์ที่เป็นพระแผ่น​ ซึ่งทั่วไปก็จะขนาดกว้าง​ประมาณ 3นิ้วและสูงประมาณ​ 6นิ้วเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสี่เหลี่ยมฐานตรงยอดโค้งด้านบน​ แต่ที่ทางเพจจะนำมาให้ชมนี้จะเป็น”พระแผ่น” ที่ใหญ่กว่าหลายเท่ามากคือ
1.พระแผ่นขนาดกลางกว้าง​ 8นิ้วส่วนสูง​ 12นิ้ว​ ที่มี​ 3แบบ​ -​แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
-แบบสี่เหลี่ยมฐานตรงยอดโค้ง
-แบบใบเสมา
2.พระแผ่นขนาดใหญ่กว้าง​ 13-15นิ้ว,ส่วนสูง​ 18-24นิ้ว​ ที่มี​ 2แบบคือ
-แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
-แบบใบเสมา
ส่วนพิมพ์ทั้งหมดที่เก็บสะสมไว้ได้แก่
1.พิมพ์นั่งเมืองขนาดใหญ่
2.พิมพ์เสด็จดาวดึงส์ขนาดใหญ่
3.พิมพ์ยมกปาฏิหารย์ขนาดใหญ่
4.พิมพ์ซุ้มโพธิ์นั่งบัลลังก์ขนาดกลางมี​ 2แบบคือแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าและแบบฐานเหลี่ยมยอดโค้ง, ขนาดใหญ่เป็นแบบฐานเหลี่ยมยอดโค้ง
5.พิมพ์ประทานพรขนาดใหญ่
6.พิมพ์นาคปรกใบเสมาขนาดกลาง, ขนาดใหญ่
7.พิมพ์ตรัสรู้ขนาดกลาง
จากการศึกษาพิจารณาพระแผ่นทั้งหมดจะพบว่า
1.พิมพ์และการสร้าง​ จะพบว่ารายละเอียดพิมพ์นั้นงดงาม, ละเอียด, มีมิติ, อ่อนช้อย, นิ่มตาและพุทธศิลป์สวยงามมาก
หลักการสร้างและรูปแบบที่ถูกออกแบบพระแผ่นขนาดใหญ่ที่สามารถทำให้ตั้งได้​ โดยมีฐานที่หนามากและค่อยบางลงเรื่อยๆจนถึงด้านบนของแผ่นขณะเดียวกันก็มีการแอ่นโค้งไปด้านหลังจากด้านล่างของแผ่นขึ้นด้านบนจึงทำให้สามารถตั้งได้อย่างมั่นคงแม้กาลเวลาจะผ่านมาหลายร้อยถึงพันกว่าปี
2.เนื้อดินที่ใช้สร้างพระแผ่นนั้นจะต่างจากเนื้อดินที่ใช้ทำภาชนะเครื่องใช้​ที่เป็นดินหยาบมีเศษดินทรายและพืชปะปนกันแต่เนื้อดินของพระแผ่นนั้นจะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดผ่านการร่อนและการกรองมาอย่างดี
3.อายุความเก่าของพระแผ่นจากการพิจารณาเนื้อดินที่ผิวนอกจะมีคราบกรุ,ราดำ, มีไข​บ้างเล็กน้อย ซึ่งเนื้อดินจะมีการหดตัว, แห้งและแกร่งมากดุจแผ่นหิน​ เวลาที่เคาะเสียงจะมีความถี่สูงและดังกังวาลบ่งชี้ถึงความเก่าและแกร่งมากสมอายุ​ และที่สำคัญคือมีน้ำหนักที่หนักมากเมื่อเทียบกับแผ่นที่เป็นเนื้อดินธรรมดา​ ซึ่งน้ำหนักและความแกร่งนั้นเทียบเท่ากับแผ่นหินได้เลย​
ทางเพจได้นำพระแผ่นของกรุนาดูนทั้งขนาดเล็ก, กลางและใหญ่มาเปรียบเทียบให้พิจารณาทั้งพิมพ์, ขนาด, รูปร่างของแผ่นและน้ำหนัก​ เพื่อให้ท่านสมาชิกได้ศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาว่า”พระกรุนาดูน” ที่ทางเพจได้เก็บสะสมและศึกษาไว้นั้น​จะมีครบทั้งข้าวของเครื่องใช้, พระพิมพ์ทุกขนาดทุกพิมพ์ทั้งเนื้อดินเผา, เนื้อชินและสำริด, มีทั้งของศาสนาพุทธ, พราหมณ์และฮินดู, มีทุกความหลากหลายให้ศึกษา​ จะต่างจากอีกหลายๆกลุ่มที่พบเห็นกันอยู่มากมาย​ในสื่อออนไลน์ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็อ้างว่าของกลุ่มตนแท้​ทั้งอ้างว่าเป็นคนพื้นที่, ขุดได้เอง,และเรื่องเล่าต่างๆนาๆที่เขียนขึ้นมาประกอบ​
จึงขอให้ท่าน​สมาชิกศึกษาด้วยปัญญาว่าควรจะเชื่อหรือเลือกศึกษาแบบใด​ โดยท่านต้องมีหลักการในการศึกษาที่ถูกต้องเสียก่อนดังนี้
1.ประวัติที่มาของพระกรุนั้นไม่ว่าจะเป็นสถานที่มาหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นเจ้าของทุกๆกลุ่มต่างก็มีที่มาของแต่ละกลุ่ม​ ขอให้ท่านแค่อ่านหรือรับฟังเฉยๆ​ แต่อย่านำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาว่าแท้หรือไม่แท้โดยเด็ดขาด​ แค่รับรู้เฉยๆ
2.พระแท้หรือไม่แท้อยู่ที่​ “องค์พระ”เท่านั้น​ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ​หลัก 3อย่างครบถ้วนเท่านั้นขาดข้อใดไม่ได้คือ
1.อายุความเก่าต้องสมอายุ(การหดตัวของเนื้อดิน,ความแกร่ง,เนื้อในของพระที่แตกหัก)
2.พิมพ์ต้องนิ่มตาและวิธีการสร้างเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผากลางแจ้งด้วยความร้อนสูง
3.เนื้อ,มวลสาร,คราบกรุ,คราบไขที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุนาดูน​
แต่ละหัวข้อในการพิจารณาก็ต้องอาศัยประสบการณ์, การเรียนรู้จึงจะบอกได้ชัดเจน​ ตรงนี้ทำให้บางท่านที่ยังขาดประสบการณ์ยัวสับสนและไม่รู้จะเชื่อใครกลุ่มใด​ดี จึงเป็นเรื่องยากพอสมควรในการพิจารณา​ ทางเพจจึงขอให้ท่านสมาชิกต้องค่อยๆศึกษานำพระของแต่ละกลุ่มมาศึกษาใน3องค์ประกอบท่านจะเห็นข้อมูลและความแตกต่างได้ดีขึ้น​ และท่านสามารถขอความเห็นและข้อมูลจากแต่ละกลุ่มแล้วมาวิเคราะห์อีกที​ ซึ่งถ้าท่านขอความเห็นแต่ละกลุ่ม​ ทีละกลุ่มแล้ว​ ท่านจะทราบเองว่ากลุ่มไหนมีข้อมูล​ มีคำอธิบายและมีเหตุผลมาอธิบายให้ท่านบ้างหรือไม่​ กลุ่มไหนที่ศึกษาจริงมีข้อมูลมาสนับสนุน​พระของกลุ่มตนบ้าง​ หรือกลุ่มไหนไม่ได้ศึกษา​ขาดข้อมูล หรือถ้าท่านศึกษาเปรียบเทียบด้วยใจที่เป็นกลาง​ นำพระมาเทียบเคียงกันในแต่ละกลุ่มท่านก็จะเห็นความแตกต่างได้ไม่ยากครับ