Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอนำพระหลวงปู่ทวด​ วัดช้างให้​ เนื้อโลหะที่สร้างในปีพ.ศ.2505​ จำนวน​ 2พิมพ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ
1.ลป.ทวด​ หลังเตารีด​ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
2.ลป.ทวด​ หลังตัวหนังสือ​ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
ซึ่งทั้ง​ 2รุ่นนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งในเรื่องของพิมพ์และวิธีการสร้างที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบและสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลหลักในการพิจารณาของแท้ได้​เป็นอย่างดี จึงขอนำมาอธิบายให้สมาชิกได้ทราบดังนี้
1.ลป.ทวด​ หลังเตารีด​ปี​ 2505​
มีหลักการสร้างที่ควรทราบเบื้องต้นดังนี้
– ขนาดและพิมพ์ที่่สร้าง​ จะแบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก(ที่เรียกกันว่าพิมพ์อาปาเช่)
-วิธีการสร้างจะมี​ 2แบบได้แก่
1.แบบ”หล่อช่อ” ใน1ช่อจะมี​ 19องค์​ ซึ่งจุดนี้จะต้องนำไปพิจารณาของแท้ซึ่งจะต้องพบรอยตัดช่อและรอยแต่งตะไบที่ใต้ขอบฐานด้านล่างทุกองค์​ และบางองค์ยังมีการแต่งตะไบที่ขอบข้างและด้านหลังมากน้อยต่างกันไป​ “รอยตะไบนั้นเกิดการใช้เครื่องไม่ได้ใช้มือและรอยตะไบต้องเป็นในแนวตั้งไม่ใช่แนวนอนและเส้นตะไบของช่างต้องละเอียดเรียบร้อย”
2.หล่อช่อและนำมาทำการปั๊มซ้ำภายหลัง​อีกครั้ง โดยนำพระหล่อช่อที่ชำรุดหรือไม่สมบูรณ์มาปั๊มซ้ำอีกครั้งเฉพาะด้านหน้า​ โดยใช้แม่พิมพ์เดิมจากแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อแบบช่อมาแกะบล็อคเพิ่มเติม​ ซึ่งแบบปั๊มซ้ำนี้จะมีจำนวนไม่มากและมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่​ เอกลักษณ์นั้นจะต้องพิจารณาว่าเบื้องต้นองค์พระเกิดจากการหล่อช่อ​ก่อนโดยดูที่รอยตัดช่อที่ใต้ขอบฐานล่าง​ และมีรอยตะไบตกแต่ง​ ต่อไปให้พิจารณาว่ามีรอยเส้นซ้อนของการปั๊มที่องค์ท่านให้พบเห็นเสมอ​ และความเก่าของโลหะต้องสมอายุเช่นกัน
– ชนิดโลหะที่ใช้สร้าง​ได้แก่​ เนื้อทองผสม, เนื้อทองผสมชุบทองคำ, เนื้อนวโลหะและเมฆพัด
– การตอกโค้ด​ จะพบว่ามี​ 2แบบคือส่วนมากจะเป็นแบบหล่ออย่างเดียวไม่ได้ตอกโค้ดและแบบที่มีการตอกโค้ด”ฉ” และ”เฉลิมพล”
2.ลป.ทวด​ หลังตัวหนังสือปี​ 2505
มีหลักการสร้างที่ควรทราบเบื้องต้นดังนี้
– ขนาดและพิมพ์ที่สร้าง​ จะแบ่งออกเป็น​ 2พิมพ์คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
ในพิมพ์ใหญ่นั้นบางท่านอาจจะเคยพบที่เรียกกันว่า​”รุ่นเสาอากาศ” ที่ด้านหลังเหรียญ​ ซึ่งจะไม่พบในทุกองค์​ เส้นเสาอากาศนี้เกิดจากบล็อคที่ชำรุดหลังการปั๊มได้ระยะหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่พิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่
– วิธีการสร้างจะเป็น”แบบตัดปั๊มยุคใหม่” จุดนี้สำคัญมากที่จะต้องนำไปพิจารณาของแท้​ซึ่งองค์พระจะต้องลึก​ คมชัดในรายละเอียด​ และต้องมีร่องรอยขอบข้างโดยรอบที่ต้องเห็นรอยเส้นตัดปั๊มที่คม​ ชัดเจน​ และยังต้องมีรอยเส้นที่ด้านข้างองค์พระให้เห็นจากการกระแทกของเหล็กจากแม่พิมพ์กับแผ่นโลหะที่นำมาปั๊ม​ ในของปลอมนั้นจะเรียบ​ ผิดธรรมชาติของการปั๊ม
– เนื้อโลหะที่ใช้สร้างจะมีแบบเดียวเท่านั้นคือ”เนื้อทองเหลืองรมดำ” ในทั้ง​ 2พิมพ์
วิธีการพิจารณาของแท้นั้นใช้หลักการมาตรฐานเดิมคือ
1.อายุของพระที่ต้องพิจารณา
-อายุโลหะ​ 2564-2505=59ปี​ ธรรมชาติของโลหะต้องแห้ง หดตัว​ เรียบตึง​ และสนิมของโลหะต้องเก่ามีให้พบเห็นสมอายุ​ ผิวโลหะเก่าแท้จะต้องไม่สดใหม่วาว​ ดูฉ่ำมีความชื้นอยู่ให้เห็น
-อายุของตัวรมดำใันรุ่นหลังตัวหนังสือต้องเก่า​ สีดำต้องสีหม่นลงไม่ใหม่ดูวาว​และผิวเปิดบางส่วนเห็นเนื้อทองเหลืองด้านในเก่าเรียบตึงเป็นธรรมชาติ
– อายุของทองคำในองค์ที่ชุบทองจะต้องดูเก่ามีสนิมทองคำสีน้ำตาลอมแดงให้พบเห็น​ ผิวทองต้องไม่ใหม่ดูวาว
2.พิมพ์และหลักการสร้างต้องถูกต้องชัดเจน​ ทางเพจได้นำตัวอย่างพิมพ์ของแท้มาให้ชมเปรียบเทียบ​ในรายละเอียด​ ทั้งรายละเอียดใบหน้า, จีวร, มือ, เท้าและกลีบบัวที่ฐาน​ ทั้งลักษณะและขนาดตัวอักษรในรุ่นหลังตัวหนังสือของปลอมตัวหนังสือจะไม่เหมือน, ความหนาของเหรียญเมื่อมองด้านข้างจะต้องพิจารณาประกอบเสมอ
ส่วนหลักการสร้างที่ต้องทราบคือ
– รุ่นหลังเตารีดต้องเป็น”หล่อช่อ”เท่านนั้น​ หรือหล่อช่อแล้วนำมาปั๊มซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
– รุ่นหลังตัวหนังสือต้อง”ตัดปั๊ม”เท่านั้น
3.โลหะที่สร้างต้องถูกต้องตามประวัติ
– รุ่นหลังเตารีดมีเนื้อโลหะ
1.เนื้อทองผสม
2.เนื้อทองผสมชุบทอง
3.เนื้อนวโลหะ
4.เนื้อเทฆพัด
– รุ่นหลังตัวหนังสือมีเนื้อเดียวเท่านั้นคือ”เนื้อทองเหลืองรมดำ”
ถ้าท่านสมาชิกเห็นว่าเนื้อหาข้อมูลที่ทางเพจนำเสนอเป็นประโยชน์​ ช่วยกรุณาถูกใจ​, กดแชร์และกดติดตามเพื่อท่านจะได้ทราบข้อมูลที่จะนำมาลงในครั้งต่อๆไปได้สะดวกขึ้น
ขอย้ำอีกครั้งครับว่าทางเพจนำพระตัวอย่างที่มีอยู่จริงมาให้ข้อมูลเพื่อการศึกษาและเรียนรู้​ ไม่ได้มุ่งหวังเพื่ิอการซื้อขายใดๆทั้งสิ้น