Select Page

ข้อมูลเพิ่มเติม

เนื่องใน”วันมาฆบูชา” ซึ่งเป็นวันพระขึ้น​ 15ค่ำเดือน​ 3​ ที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์​แก่เหล่าพระสงฆ์ที่วัดเวฬุวันวิหาร​ หรือที่เรียกว่า”วันจาตุรงคสันนิบาต” คือมี​ 4สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้คือ
1.พระสงฆ์จำนวน​ 1250รูปเดินทางมาประชุมพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย
2.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น”เอหิภิกขุอุปสัมปทา”คือเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น
3.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนสำเร็จอรหันต์ได้อภิญญา​ 6
4.ตรงกับวันเพ็ญขึ้น​15ค่ำเดือน​ 3
เนื่องในวันสำคัญนี้ทางเพจขอนำ”พระกรุนาดูน” ที่ถือว่าเป็นพระกรุที่เก่าแก่ที่สุด, มีความหลากหลายของพิมพ์มากที่สุด, มีจำนวนการสร้ามากที่สุด, มีความงดงามทางพุทธศิลป์มากที่สุดและสุดท้ายคือมีความมหัศจรรย์ของมวลสารมากที่สุดในเมืองไทย​ ซึ่งทั้งหมดนี้ทางเพจไม่ได้กล่าวอ้างเกินความเป็นจริงแต่อย่างใดเพราะเวลาเกือบ​ 20ปีที่ผมได้ศึกษาค้นคว้าและเก็บสะสมจากสถานที่จริงจากผู้อาวุโสที่อยู่ในพื้นที่จริงและยังมีชีวิตอยู่จริง​ และได้นำมาศึกษาและพิจารณาอย่างละเอียดรอบด้าน​ โดยได้นำความรู้ทั้งทางด้านโบราณคดี, ประวัติศาสตร์และต้นกำเนิดของพระพิมพ์ของอินเดียและการแบ่งยุคสมัยของพุทธศิลป์อินเดียโบราณรวมทั้งความรู้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ทั้งมวลสารและอายุ​ของพระพิมพ์ จนกระทั่งได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ
“คัมภีร์ไขปริศนาพระกรุนาดูน” ขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลความรู้ในทุกเรื่องราวและรายละเอียดของข้อมูลต่างๆไว้อย่างครบถ้วนที่สุดเล่มหนึ่งของเมืองไทย
พระกรุนาดูนในปัจจุบันมีให้พบเห็นอยู่มากมายทั้งในสื่อออนไลน์, สนามพระต่างๆ​รวมทั้ง ชมรมต่างๆมากมาย​ทุกแหล่งก็จะบอกว่าแท้กันทั้งหมด​ แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้ที่สนใจอยากที่จะศึกษาเกิดความสับสนอย่างมากไม่รู้จะเชื่อกลุ่มใดหรือผู้ใด​ ดังนั้นทางเพจจึงขอสรุปข้อมูลสำคัญรวมถึงวิธีการพิจารณา”พระกรุนาดูน” เพื่อให้ท่านสมาชิกได้นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนตัดสินใจ
พระกรุนาดูนนั้นส่วนใหญ่ที่พบเห็น
– “มวลสาร” เป็น​ “พระพิมพ์เนื้อดินเผา” เป็นส่วนใหญ่แต่ที่ผมได้พบเห็นและสะสมไว้จะพบทั้งเนื้อดินเผาธรรมดา, เนื้อดินผสมหินหรือแร่ธรรมชาติ​ ส่วนเนื้อโลหะเช่นสำริด, เนื้อชิน​ ก็พบเจอแต่พได้ในปริมาณไม่มาก​
– “ขนาด” มีมากมายหลากหลายตั้งแต่ขนาด​ 1เซ็นติเมตร​จนถึง​ 1ฟุตครึ่ง
– “พิมพ์” มีมากมายหลายสิบพิมพ์แต่ละพิมพ์ยังแยกย่อยลงไปอีกมากมาย
– “อายุ” ความเก่ามีตั้งแต่เก่าที่สุด​ 1700-1900ปีคือยุคต้นของอินเดียโบราณศิลปะ”อัมราวดี” จนมาถึงยุคสมัย”ปาณทยะ” คือ​ราว 6-700ปี​ก่อน
อารยธรรมของ”เมืองนาดูน”ในปัจจุบันหรือ”นครจำปาศรี” ในอดีตนั้นรุ่งเรืองถึงขีดสุดต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากกว่า​ 1000ปี​ นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมจึงมีการสร้างพระพิมพ์ไว้อย่างมากมายในอดีต​เรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคล่มสลายในราวปีพ.ศ.1900​ ในสมัยเขมรโบราณได้เข้ามามีอำนาจในยุคนั้น​ (รายละเอียดต่างๆได้กล่าวไว้ในหนังสือ)
ดังนั้นการที่ท่านจะศึกษาพระกรุนาดูนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว​ ท่านควรจะต้องมีพื้นฐานเรื่องประวัติศาสตร์, โบราณคดี, ประวัติพระพิมพ์และคลื่นพระพุทธศาสนาที่แพร่จากอินเดียโบราณมาสู่สุวรรณภูมิในอดีตว่ามีกี่ครั้งและเมื่อไหร่เพราะว่าพระพิมพ์นั้นเข้าพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาเพื่อเราจะได้ทราบอายุและยุคสมัยของพุทธศิลป์ได้อย่างเข้าใจยิ่งขึ้น
สำหรับการศึกษาพระพิมพ์กรุนาดูนนั้นข้อมูลที่ท่านควรทราบคือ
-“เป็นพระพิมพ์”​ต้องมีแบบพิมพ์ก่อนสร้าง​ และพิมพ์ที่ออกแบบต้องเกิดจากพุทธศิลปินในยุคเก่าที่มีความชำนาญและสร้างพระพิมพ์ด้วยความเคารพและศรัทธาดังนั้นรายละเอียดจะบ่งบอกความแท้ปลอมได้
-“เป็นเนื้อดินเผา” กลางแจ้งด้วยความร้อนสูงมากๆ​ ดังนั้นองค์ที่เห็นจะต้องผ่านความร้อนมีร่องรอยผ่านการเผา​การหลอมละลายของมวลสารในบางองค์ที่มีแร่หรือหินธรรมชาติให้พบเห็น
-“เป็นพระพิมพ์ที่มีอายุเก่ามากฝังกรุใต้ดิน” มานานหลายถึงกส่า1พันปี​ ดังนั้นคราบกรุ, คราบไขและคราบความเก่าต้องมีให้พบเห็นเสมอ
-“มวลสาร” มีให้เห็นทั้งเนื้อดินเผาธรรมดาและดินผสมแร่หรือหินธรรมชาติ​ เนื้อดินไม่ใช่เนื้อดินเหมือนที่ทำภาชนะเครื่องใช้เหมือนในของปลอมแต่จะมีเอกลักษณ์ของเนื้อดินผสมที่ขยายดูด้วยกล้องจะเห็นชัดเจน
เนื้อดินเผาที่เก่าถึงอายุนั้นทางกายภาพถ้าผู้ที่เคยศึกษามานานอาจจะพอพิจารณาได้จากการสังเกตเนื้อดินที่ถูกเผา, ความแกร่ง​ การหดตัวของดิน​ ธรรมชาติรายละเอียดพิมพ์ที่นิ่มตา, คราบไข, คราบกรุ, ธรรมชาติความเก่าของดินและแร่​ แต่ถ้าเราสามารถดูเนื้ดินด้านในได้ด้วยจะทำให้บ่งชี้ถึงอายุความเก่าได้ดียิ่งขึ้น​ ซึ่งปมได้ศึกษาอวค์พระที่หักชำรุดแทบทุพิมพ์ทั้งเนื้อดินและเนื้อแร่แล้วทำให้มั่นใจได้แน่นอนว่า​ พระพิมพ์ที่ผมได้นำมาแสดงให้ชมนั้นเก่าถึงยุคแน่นอนและนำไปเป็นแนวทางการศึกษาได้​
เอกลักษณ์ของพระเนื้อดินเผาเก่าถึงยุคนั้นจะต้องมีเนื้อดินด้านในที่เรียกว่า”เนื้อขนมเปี๊ยะ” คือเนื้อด้านในสุดจะมีสีเข้มกว่าด้านนอกถัดออกมาจนถึงผิวนอกสุดเหมือนเนื้อของขนมเปี๊ยะนั่นเอง​ ตัวอย่าวภาชนะดินเผากรุนาดูนที่มีชั้นขนมเปี๊ยะเมื่อนำไปตรวจหาอายุจะได้​ 1700ปี ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดสีเนื้อดินที่ต่างกันที่เรียก”เนื้อขนมเปี๊ยะ” นี้เกิดจากเนื้อดินของพระพิมพ์ที่ถูกเผาด้วยความร้อนสูงมากเนื้อด้านในจะถูกอบอยู่และคายความร้อนออกมาได้ช้ากว่าด้านอก​ ทำให้เนื้อดินด้านในรับความร้อนไว้มากกว่าและนานกว่าทำให้สีเข้มหรือดำกว่านั่นเอง​ เปรึยบเหมือนเปลือกโลกด้านในที่ร้อนกว่าด้านนอกเพราะคายความร้อนได้ช้ากว่านั่นเอง​ ดังนั้น”เนื้อขนมเปี๊ยะ” คือจุดบ่งชี้อายุความเก่าถึงยุคของพระกรุนาดูนได้​ ซึ่งทางเพจได้นำภาพมาให้ชมด้านล่าง
ทางเพจขอให้ท่านนำข้อมูลต่างๆนี้ไปพิจารณาประกอบและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือท่านจะเข้าใจพระพิมพ์เนื้อดินเผากรุนาดูนได้อย่างเข้าใจมากขึ้นอย่างแน่นอน​ และสามารถนำไปใช้ศึกษาพระพิมพ์เนื้อดินเผากรุต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ทางเพจยังยืนยันเจตนารมณ์เดิมคือการให้ข้อมูลของพระกรุนาดูนและพระเครื่องต่างๆนั้นเพื่อเป็นวิทยาทานและการศึกษาเรียนรู้เท่านั้น​ ไม่มีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝงแน่นอน