ข้อมูลเพิ่มเติม
ขอนำพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย มาให้ท่านสมาชิกได้ชมและศึกษา องค์นี้ถือว่ามีความงดงามและสมบูรณ์ครบถ้วนในองค์ประกอบที่สุดอีกองค์หนึ่งได้แก่
1.มวลสารหลักที่เป็นเนื้อปูนเปลือกหอยสุกและมวลสารรองต่างๆครบถ้วนเช่นผงสมเด็จ(ผงวิเศษที่ท่านปลุกเสก), ก้อนพระสมเด็จเก่า,เม็ดทรายแก้ว, ผงตะไบเงินตะไบทอง, อิฐแดง,ก้อนแดง, ก้อนดำฯลฯ
2.พิมพ์ซึ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ของหลวงวิจารณ์ฯที่มีรายละเอียดพิมพ์ต่างๆให้พิจารณาอย่างครบถ้วนเช่นองค์พระประธานประทับนั่งเอียงด้านซ้ายเล็กน้อย, พระเกศเรียวยาวจรดซุ้ม,พระพักตร์ผลมะตูม,ไหล่ปีกกา, ซอกรักแร้2ข้างซอกด้านซ้ายองค์พระสูงกว่าด้านขวา, ท่อนแขนข้างซ้ายองค์พระทิ้งดิ่งข้อศอกหักและด้านขวาข้อศอกวาดโค้ง, ลักษณะของฐานทั้ง 3ชั้น, คมขวานฐานสิงห์ของฐานชั้นกลาง, การโย้ของเส้นซุ้มทั้ง 2ข้าง, กรอบกระจกซ้ายและขวา, กรอบกระจกหรือเส้นวาสนาด้านซ้ายองค์พระลงมาจรดเส้นซุ้มตรงกลางแขนซ้าย, พื้นของผนังคูหาในเส้นซุ้มที่สูงต่ำไม่เท่ากัน,ฯลฯ
3.อายุความเก่าสมอายุกว่า150ปี โดยพิจารณาได้จากจาก
-สภาพเนื้อปูนเปลือกหอยที่แห้งมากจากกาลเวลาแต่ยังมีความหนึกนุ่มให้พบเห็นซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของพระสมเด็จวัดระฆัง
-ร่องรอยการปริแยกที่ด้านขอบข้างจากการคายความชื้นออกไป ทำให้เกิดการหดตัวของเนื้อปูนมีมากน้อยตามระยะเวลาที่ผ่านไป
-การยุบย่นของผิวด้านนอกมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปของใหม่จะไม่มีการยุบตัวเนื้อจะบวม
-การย่อยสลายของอินทรีย์ตามสภาพอุณภูมิสูงต่ำ, ความชื้นในขณะเวลาที่ผ่านไปบ่งบอกความเก่าได้
– การหลุดของก้อนมวลสารขนาดเล็กเมื่อเวลาผ่านไปทำให้เกิดการหดตัวหลุดอออกจากผ้วเนื้อปูนเกิดรูพรุนปลายเข็มต่างๆ
-ความแห้งมากของรักในบางจุดที่ยังพอมีให้เห็นบ่งบอกความเก่าอย่างดี